ปัจจัยแห่งความสำเร็จในกระบวนการการมีส่วนร่วมของชุมชนต้นแบบการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาตำบลน้ำเชี่ยว จังหวัดตราด

Authors

  • ศุภมาส แหวนวิเศษ
  • เจริญชัย เอกมาไพศาล

Keywords:

การมีส่วนร่วม, การท่องเที่ยวโดยชุมชน, ชุมชนต้นแบบการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน อย่างยั่งยืน, ตราด

Abstract

การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อกระบวนการการมีส่วนร่วมของชุมชนต้นแบบ การจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาตำบลน้ำเชี่ยว จังหวัดตราด และเพื่อศึกษาปัจจัยสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อกระบวนการการมีส่วนร่วมของชุมชนต้นแบบการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาตำบลน้ำเชี่ยว จังหวัดตราด ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ
กลุ่มผู้บริหารและตัวแทนสมาชิกจากกลุ่มย่อยของชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชน ตำบลน้ำเชี่ยว เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้าง เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ วิธีการสนทนากลุ่ม
และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงพรรณนา

ผลการศึกษาพบว่าผู้ให้ข้อมูลหลักในชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชน ตำบลน้ำเชี่ยว
ส่วนใหญ่ คือ เพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 51–60 ปี อาชีพหลัก คือ ค้าขาย การศึกษาสูงสุด คือ ระดับประถมศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของกลุ่ม คือ 250,000–800,000 บาท สถานภาพในชมรม คือ สมาชิกชมรม และพบว่าปัจจัยสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อกระบวนการการมีส่วนร่วมของชุมชนต้นแบบการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน คือ ปัจจัยด้านการส่งเสริมสนับสนุนจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้แก่ ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคชุมชน นอกจากนี้ ปัจจัยด้านการติดต่อสื่อสารระหว่างสมาชิกผ่านช่องทางแอปพลิเคชันไลน์ (LINE) การแจ้งตรง การบอกต่อ การโทรศัพท์ การประชุมต่าง ๆ และปัจจัยด้านการเมืองท้องถิ่นประเด็นผู้มีบทบาทสำคัญในการท่องเที่ยวโดยชุมชนในพื้นที่ตำบลน้ำเชี่ยว ได้แก่ นายกเทศมนตรีและประธานชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชน ตำบลน้ำเชี่ยว

Downloads

Published

2018-01-30

Issue

Section

บทความวิจัย