การหวนกลับมาของงานชาติพันธุ์วรรณนา: “อยู่ที่นั่น” กับคนไร้บ้านในมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์
Keywords:
งานชาติพันธุ์วรรณนา, งานทำงานภาคสนาม, การสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วม, คนไร้บ้าน, ฟิลิปปินส์Abstract
งานชาติพันธุ์วรรณนา เป็นกระบวนการวิจัยที่ถูกนำไปใช้ในหลายสาขาวิชา แต่ทว่างานเขียนเกี่ยวกับการวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนา ในแวดวงวิชาการไทยยังมีไม่มากนัก บทความชิ้นนี้จะนำเสนอ
จุดแข็งของงานชาติพันธุ์วรรณนาในฐานะที่เป็นกระบวนการวิจัยที่ช่วยให้ผู้วิจัยสามารถเข้าถึงโลกทัศน์ ทัศนคติ และความรู้สึกของกลุ่มคนที่จะศึกษาได้ด้วยการไปมีประสบการณ์ร่วมกับกลุ่มคนที่จะศึกษา โดยนำเสนอผ่านประสบการณ์การวิจัยของผู้เขียนในการศึกษาภาคสนามกับคนไร้บ้านในกรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ บทความจะเป็นมากกว่า การถ่ายทอดประสบการณ์ภาคสนามของผู้เขียน แต่จะชี้ให้เห็นความสำคัญของการใช้ตัวนักวิจัย เป็นเครื่องมือในการศึกษาด้วยการ “อยู่ที่นั่น” เพื่อที่จะมีประสบการณ์ตรงและความรู้สึกร่วมกับกลุ่มคนที่สนใจศึกษา บทความเริ่มต้นด้วยการทบทวนของงานเขียนเกี่ยวกับงานชาติพันธุ์วรรณนาที่มีอยู่จำกัดในแวดวงวิชาการไทย จากนั้น จะกล่าวถึงข้อถกเถียงสำคัญเกี่ยวกับงานชาติพันธุ์วรรณนาในโลกวิชาการตะวันตกพอสังเขป เพื่อชี้ถึงการกลับมานิยมและจุดแข็งของการวิจัยแนวชาติพันธุ์วรรณนา จากนั้นผู้เขียนจะแสดงข้อมูลเชิงประจักษ์ว่า การไปคลุกคลีกับคน
ไร้บ้าน ช่วยให้ผู้ศึกษาเข้าถึงและเข้าใจความคิดและความรู้สึกของคนไร้บ้านได้อย่างไร ผ่านสามประเด็นสำคัญ คือ การสร้างความไว้วางใจ การเข้าถึงชีวิตที่ยากลำบาก และการเข้าใจความซับซ้อนของความสุขของชีวิตข้างถนน อย่างไรก็ดีผู้เขียน ตระหนักดีว่า ตัวเองไม่อาจจะเข้าใจและเข้าถึงคนไร้บ้านได้อย่างสมบูรณ์