ชาติพันธุ์วรรณนาว่าด้วยโครงสร้างพื้นฐาน
Keywords:
ชาติพันธุ์วรรณนา, โครงสร้างพื้นฐาน, ภววิทยา, โครงสร้างพื้นฐานแบบกลับนอกออกในAbstract
บทความชิ้นนี้อภิปรายการขยับขยายวิธีการศึกษาเชิงชาติพันธุ์วรรณนา ที่มักจำกัดความสนใจอยู่เพียงการศึกษาความสัมพันธ์และวัฒนธรรมของมนุษย์ ไปสู่การศึกษาโครงสร้างพื้นฐานในฐานะที่เป็นหน่วยความสัมพันธ์อย่างหนึ่งในสังคม บทความนำเสนอข้อถกเถียงเชิงภววิทยาของโครงสร้างพื้นฐาน และชี้ให้เห็นว่าการศึกษาโครงสร้างพื้นฐานนั้นจะช่วยเปิดมิติใหม่ ๆ ในการทำความเข้าใจปรากฏการณ์ต่าง ๆ ในสังคมได้เป็นอย่างดี นั่นก็เพราะว่า การศึกษาทำความเข้าใจโครงสร้างพื้นฐานนั้นให้ความสนใจที่เท่าเทียมกันกับทั้งสิ่งที่เป็นมนุษย์และไม่ใช่มนุษย์ การอธิบายโลกทางสังคมและโลกของวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีด้วยวิธีการชุดเดียวกัน และรวมไปถึงการจัดวางโลกของวัตถุและโลกของความหมายความเชื่อบนระนาบของการวิเคราะห์เดียวกันด้วย ในการทำความเข้าใจการเมือง การรับรู้ และกระบวนการ
การสถาปนาโครงสร้างพื้นฐาน บทความเสนอแนวทางที่เรียกว่า “การศึกษาโครงสร้างพื้นฐานแบบกลับนอกออกใน” ในฐานะที่เป็นวิธีการที่ทำให้เราสามารถเข้าไปทำความเข้าใจพลวัตที่เกิดขึ้นภายในระบบของโครงสร้างพื้นฐานได้