ปัญหาและอุปสรรคต่อการพัฒนาประสิทธิภาพในการบริหารจัดการองค์กร ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ กรณีศึกษา “การยางแห่งประเทศไทย”
Keywords:
Problems and Obstacles, Solutions, Corporate Governance, Rubber Authority of Thailand, State EnterprisesAbstract
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย 1) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการบริหารจัดการองค์กร “การยางแห่งประเทศไทย” จากพนักงานรัฐวิสาหกิจ 2) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคที่มีผลจากปัจจัยของตัวพนักงานรัฐวิสาหกิจที่แตกต่างกัน 3) เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการบริหาร จัดการองค์กร หรือข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการบริหารจัดการองค์กร “การยางแห่งประเทศไทย” ให้มีประสิทธิภาพ
ผู้วิจัยสร้างแบบสอบถามขึ้นมาเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการวัด “ปัญหา/อุปสรรคและแนวทางแก้ไขในการบริหารจัดการองค์กร” โดยสารวจความคิดเห็นจากพนักงานรัฐวิสาหกิจ ขององค์กร “การยางแห่งประเทศไทย” ที่ประจำอยู่ ณ สำนักงานใหญ่ (บางขุนนนท์) ซึ่งสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน, วิเคราะห์การถดถอยของสหสัมพันธ์ (Regression) ผลการวิจัย พบว่า 1) ภาพรวมความเห็นเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคต่อการพัฒนาประสิทธิภาพในการบริหารจัดการองค์กรของพนักงานรัฐวิสาหกิจ “การยางแห่งประเทศไทย” ที่มีต่อปัญหาและอุปสรรคทั้ง 8 ด้าน “เห็นด้วยอย่างมากว่าเป็นปัญหาและอุปสรรค” โดยด้านที่เป็นปัญหาและอุปสรรคมากที่สุด คือ ด้านการวางแผน รองลงมา คือ ด้านการจัดการกำลังคน ด้านการอำนวยการ ด้านการจัดการองค์กร ด้านการรายงาน ด้านงบประมาณ และด้านการประสานงาน ในขณะที่ด้านสวัสดิการ “ไม่แน่ใจว่าเป็นปัญหาและอุปสรรค” 2) ความเห็นเกี่ยวกับแนวทางแก้ไขต่อการพัฒนาประสิทธิภาพในการบริหารจัดการองค์กรของพนักงานรัฐวิสาหกิจ “การยางแห่งประเทศไทย” ที่มีต่อทั้ง 4 แนวทาง “เห็นด้วยอย่างมากว่าเป็นแนวทางแก้ไข” เมื่อพิจารณาแยกแต่ละแนวทาง พบว่า วิธีการ POSDCoRB Model วิธีการ PAMS-POSDCoRB Model วิธีการ POCCC Model และวิธีการ POLC Model “เห็นด้วยอย่างมากว่าเป็นแนวทางแก้ไข”
ความสัมพันธ์ปัญหาและอุปสรรค เมื่อเปรียบเทียบกับแนวทางแก้ไขต่อการพัฒนาประสิทธิภาพในการบริหารจัดการองค์กร ผลที่ได้ คือ ปัญหาและอุปสรรคด้านการวางแผนเป็นปัญหาสำหรับการพัฒนาประสิทธิภาพในการบริหารจัดองค์กรมากที่สุด ซึ่งแนวทางแก้ไขที่ใช้ในเหมาะสมมากที่สุด คือ วิธีการ POSDCoRB รองลงมาคือ วิธีการ PAMS-POSDCoRB Model วิธีการ POCCC Model และวิธีการ POLC Model ตามลำดับ