แนวทางการพัฒนากระบวนการแก้ไขบำบัดฟื้นฟูเด็กและเยาวชน ของผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมเด็กและเยาวชน

Authors

  • ปุณยวัจน์ ไตรจุฑากาญจน์ วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Keywords:

Juveniles, Rehabilitation, Juvenile criminal justice systems, Opinions

Abstract

           การศึกษาเรื่อง “แนวทางการพัฒนากระบวนการแก้ไขบำบัดฟื้นฟูเด็กและเยาวชนของผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมเด็กและเยาวชน” มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นแนวทางการพัฒนากระบวนการแก้ไขบำบัดฟื้นฟูเด็กและเยาวชนของผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมเด็กและเยาวชน 2. เพื่อแสวงหาแนวทางการพัฒนากระบวนการแก้ไขบำบัดฟื้นฟูเด็กและเยาวชนของผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมเด็กและเยาวชน ผลการศึกษาพบว่า ในภาพรวมผู้ปฏิบัติงาน “เห็นด้วย” กับกระบวนการดังกล่าว ซึ่งมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 2.40 โดยประเด็นที่ผู้ปฏิบัติงานมีทัศนคติ เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง คือ ด้านการติดตามดูแลเด็กและเยาวชนภายหลังปล่อย มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.47 รองลงมา คือ ด้านการแก้ไข บาบัด ฟื้นฟูเด็กและเยาวชน มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 2.29 ด้านการใช้มาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญาและมาตรการพิเศษแทนการพิพากษาคดี มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 2.22 และด้านการจำแนกจัดประเภทเด็กและเยาวชน มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 1.95 ตามลำดับ ในส่วนของความคิดเห็นต่อแนวทางการพัฒนากระบวนการแก้ไขบำบัดฟื้นฟูของเด็กและเยาวชนในการใช้มาตรการพิเศษต่างๆ ตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 พบว่า ในภาพรวมผู้ปฏิบัติงาน “เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง” กับแนวทางดังกล่าวที่จะนำมาเป็นเครื่องมือในการพัฒนากระบวนการแก้ไขบำบัดฟื้นฟูเด็กและเยาวชนในการใช้มาตรการพิเศษต่างๆ ซึ่งมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.27 โดยประเด็นแนวทางการพัฒนาดังกล่าว ผู้ปฏิบัติงานมีทัศนคติ เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งทั้ง 3 แนวทาง ซึ่งในประเด็นด้านแนวคิดการจัดการายกรณี (Case Management) เป็นแนวทางที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ 3.55 รองลงมา คือ รูปแบบ Rehabilitation - Oriented Community Care มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.08 และ การพัฒนาระบบของศาลเยาวชนและครอบครัวในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 2.99 ตามลำดับ

Downloads

Published

2018-08-15

Issue

Section

บทความวิจัย