ปัจจัยที่มีผลต่อการต่ออายุสัญญาเพิ่มเติมชดเชยค่ารักษาพยาบาลรายวันในกรมธรรม์ประกันชีวิต

Authors

  • ชยุต เจตเจริญนุกุล คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • กมล บุษบา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • แสงดาว วงค์สาย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Keywords:

อัตราส่วนออดส์, ตัวสถิติฮอสเมอร์-เลมส์โชว์, ตัวสถิติวัลด์, เส้นโค้ง ROC

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและประเมินขนาดของปัจจัยที่มีผลต่อการต่ออายุสัญญาเพิ่มเติมชดเชยค่ารักษาพยาบาลรายวันในกรมธรรม์ประกันชีวิต รวมถึงสร้างตัวแบบการทำนายสำหรับการต่ออายุสัญญาเพิ่มเติมชดเชยค่ารักษาพยาบาลรายวัน ของผู้ถือกรมธรรม์ประกันชีวิตที่เริ่มความคุ้มครองในปี พ.ศ. 2559 ของบริษัทประกันชีวิตแห่งหนึ่ง จำนวนประมาณ 25,000 กรมธรรม์ โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์การถดถอยลอจิสติกทวิ  ตัวแปรตอบสนองที่สนใจศึกษา คือ สถานะของสัญญาเพิ่มเติมชดเชยค่ารักษาพยาบาลรายวัน โดยมีตัวแปรอิสระประกอบด้วย เพศ อายุ เงินผลประโยชน์ เบี้ยประกันสำหรับสัญญาเพิ่มเติมรายปี ลักษณะการจ่ายเบี้ยประกัน ภูมิลำเนา สถานภาพสมรส ประเภทกรมธรรม์ของสัญญาหลัก เบี้ยประกันรายปีของสัญญาหลัก จำนวนครั้งของการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน ระยะเวลาดำเนินการเฉลี่ยในการจ่ายค่าสินไหมทดแทน และจำนวนเงินค่าสินไหมทดแทนรวม ซึ่งผลการวิเคราะห์พบว่า ปฏิสัมพันธ์ระหว่างเงินผลประโยชน์และเบี้ยประกันสำหรับสัญญาเพิ่มเติมรายปี ลักษณะการจ่ายเบี้ยประกัน ภูมิลำเนา สถานภาพสมรส เบี้ยประกันรายปีของสัญญาหลักและระยะเวลาดำเนินการจ่ายค่าสินไหมทดแทนเฉลี่ย เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการต่ออายุสัญญาชดเชยค่ารักษาพยาบาลรายวันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ซึ่งปัจจัยด้านลักษณะการจ่ายเบี้ยประกันเป็นปัจจัยที่ส่งผลมากที่สุด และพบว่าปัจจัยด้านจำนวนครั้งในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน ปัจจัยด้านประเภทของกรมธรรม์หลัก ปัจจัยด้านจำนวนเงินค่าสินไหมทดแทน และปัจจัยด้านอายุ เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการต่ออายุสัญญาฯ ที่เพิ่มเข้ามาหากพิจารณาตัวแบบแบ่งตามลักษณะการจ่ายเบี้ยประกันของสัญญาเพิ่มเติม โดยการต่ออายุสัญญาชดเชยค่ารักษาพยาบาลรายวันอาจจะได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกอื่น ๆ ที่ผู้วิจัยไม่ได้นํามาพิจารณาหรือไม่อยู่ในชุดข้อมูลที่นํามาศึกษา ซึ่งอาจทำให้ผลการวิจัยจะมีความแม่นยำมากขึ้น

Downloads

Published

2018-12-19

Issue

Section

บทความวิจัย