ความเป็นธรรมทางสังคมในมิติหลักกฎเกณฑ์ บรรทัดฐานและกระบวนการยุติธรรม: การพัฒนาดัชนีชี้วัด

Authors

  • สุชาดา โพธิสิงห์ นักวิจัยอิสระ
  • ธีระพงษ์ วงษ์นา นักวิจัยอิสระ

Keywords:

ความเป็นธรรม, ความเหลื่อมล้ำ, ความยุติธรรม, ความไม่เท่าเทียม, ดัชนี

Abstract

บทความวิจัยนี้นำเสนอการพัฒนาดัชนีชี้วัดความเป็นธรรมทางสังคมในมิติหลักกฎเกณฑ์ บรรทัดฐานและกระบวนการยุติธรรม ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 มิติย่อย ได้แก่ หลักกฎเกณฑ์ตามกฎหมาย และหลักกระบวนการยุติธรรม โดยได้สร้างแบบสอบถามขึ้นมาเพื่อใช้สำรวจความเป็นธรรม แล้วทำการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลในกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่ใน 10 จังหวัดที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างตามหลักการทางสถิติซึ่งครอบคลุมในทุกภูมิภาคทั่วประเทศไทย

ในการศึกษาความเป็นธรรมทางสังคมช่วง 6 เดือนแรก (ก.ค.–ธ.ค.2560) พบว่า ความเป็นธรรมทางสังคมในมิติหลักกฎเกณฑ์ บรรทัดฐานและกระบวนการยุติธรรม อยู่ที่ร้อยละ 49.70 คือ ความเป็นธรรมอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาเป็นรายมิติ พบว่า มิติหลักกฎเกณฑ์ตามกฎหมาย และหลักกระบวนการยุติธรรม มีความเป็นธรรมอยู่ที่ร้อยละ 43.36 และร้อยละ 56.04 ส่วนในช่วงระยะเวลา 6 เดือนถัดมา (ม.ค.–มิ.ย.2561) ผลปรากฏว่ามีความเป็นธรรมอยู่ที่ร้อยละ 35.82 คือ ความเป็นธรรมอยู่ในระดับน้อย และเมื่อพิจารณาเป็นรายมิติ พบว่า มิติหลักกฎเกณฑ์ตามกฎหมาย และหลักกระบวนการยุติธรรม มีความเป็นธรรมที่ร้อยละ 36.42 และร้อยละ 35.23 จะเห็นว่าระดับความเป็นธรรมในช่วง 6 เดือนหลัง เปลี่ยนแปลงลดลงจาก 6 เดือนแรกกว่าร้อยละ 13.88 แต่อย่างไรก็ตามการสะท้อนความเป็นธรรมทางสังคมนั้นควรมีการสำรวจอย่างต่อเนื่อง โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยไม่ว่าจะเป็นการตอบสนองข้อมูลแบบ responsive หรือการใช้เทคโนโลยีทางภูมิศาสตร์นำเสนอข้อมูลในเชิงพื้นที่ ซึ่งจะเป็นประโยชน์มากต่อหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม 

Downloads

Published

2019-04-22

Issue

Section

บทความวิจัย