การวิเคราะห์ข้อมูลตัวชี้วัด วิธีการจัดเก็บข้อมูล และกิจกรรมการใช้ประโยชน์จากตัวชี้วัดกระบวนการยุติธรรมอาญาไทย

Authors

  • ขวัญมนัส พัดทอง นักวิจัยอิสระ
  • วิชาญ กิตติรัตนพันธ์ นักวิจัยอิสระ
  • ปราโมทย์ พันธ์สะอาด นักวิจัยอิสระ

Keywords:

ตัวชี้วัด, ค่าเป้าหมาย, ค่าบรรทัดฐาน, กระบวนการยุติธรรมอาญาไทย

Abstract

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมไทยอันได้แก่ ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย ค่าบรรทัดฐานในการเปรียบเทียบ (Baseline) ตลอดจนข้อเสนอแนะ วิธีการ และกิจกรรมการใช้ประโยชน์จากตัวชี้วัด โดยมีวิธีการศึกษาที่ต่อเนื่องกัน 2 ขั้นตอนหลักคือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษางานที่เกี่ยวข้องด้วยวิธีการวิจัยเอกสาร (Documentary research) เพื่อดำเนินการวิเคราะห์ และจัดทำรายละเอียด เช่น คำนิยาม ค่าเป้าหมาย ค่าบรรทัดฐานในการเปรียบเทียบของตัวชี้วัด รวมทั้งพิจารณาแนวทางในการจัดเก็บข้อมูลตามตัวชี้วัดที่เป็นรูปธรรม ซึ่งขั้นตอนนี้ทำให้ได้ตัวชี้วัดกระบวนการยุติธรรมทางอาญา 7 กรอบ 21 ตัวชี้วัด โดยแต่ละตัวชี้วัดประกอบด้วยคำนิยาม ค่าเป้าหมายและค่าบรรทัดฐานในการเปรียบเทียบ และทำให้ได้วิธีการจัดเก็บข้อมูลตามตัวชี้วัด 5 วิธี ได้แก่ 1) การสำรวจจากประชาชนทั่วไป (Public Survey: PS) 2) การใช้สถิติทางการ (Administrative Data: AD) 3) การเก็บข้อมูลจากผู้มีส่วนได้เสียในคดีโดยตรง (User Survey: US) 4) ประเมินโดยหน่วยงาน (Self-Assessment: SA) และ 5) การอาศัยผู้เชี่ยวชาญ (Observation: OB) ขั้นตอนที่ 2 เป็นการวิเคราะห์ผลจากข้อมูลที่จัดเก็บได้จากทั้ง 5 วิธี โดยทำให้ได้ผลการพัฒนาตัวชี้วัดทั้ง 7 กรอบ 21 ตัวชี้วัด ซึ่งทำให้ทราบว่าตัวชี้วัดที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงมีจำนวนทั้งสิ้น 15 ตัวชี้วัด ส่วนอีก 6 ตัวชี้วัดไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในระยะแรก แต่ให้คงตัวชี้วัดเหล่านี้ไว้ก่อน และเห็นควรพัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูลในระยะถัดไป ซึ่งในภาพรวมตัวชี้วัดดังกล่าวมีความครอบคลุมรอบด้าน ชัดเจน และสามารถนำไปสู่การเชื่อมโยงการทำงานของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อให้เกิดการวัดผลในเชิงประสิทธิภาพกระบวนการยุติธรรมทางอาญาโดยใช้การประเมินเป็นตัวชี้วัด และมุ่งเน้นการขับเคลื่อนระบบตัวชี้วัดที่เป็นมาตรฐาน อันเป็นการเพิ่มคุณภาพกระบวนการยุติธรรมภาพรวมอย่างเป็นรูปธรรมและเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน

Downloads

Published

2019-04-22

Issue

Section

บทความวิจัย