กลวิธีทางภาษาและข้อคำนึงที่เป็นเหตุจูงใจที่ผู้พูดภาษาไทยใช้ ในการแสดงความไม่พอใจ

Authors

  • สิทธิธรรม อ่องวุฒิวัฒน์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Keywords:

กลวิธีทางภาษา, การแสดงความไม่พอใจ, ข้อคำนึงที่เป็นเหตุจูงใจ, ภาษากับวัฒนธรรม, วัจนปฏิบัติศาสตร์แนวปลดปล่อย

Abstract

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการศึกษากลวิธีทางภาษาที่ผู้พูดภาษาไทยใช้แสดง
ความไม่พอใจ และข้อคำนึงที่เป็นเหตุจูงใจที่ผู้พูดภาษาไทยคานึงถึง เมื่อเลือกใช้กลวิธีทางภาษาในการ
แสดงความไม่พอใจตามแนวคิดวัจนปฏิบัติศาสตร์แนวปลดปล่อย (emancipatory pragmatics) โดยใช้
แบบสอบถามประเภท Discourse Completion Test (DCT) จากกลุ่มตัวอย่างผู้พูดภาษาไทยที่เป็น
นักศึกษาระดับปริญญาตรีหลากหลายคณะและหลากหลายชั นปีของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จำนวน
100 คน และจากการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มตัวอย่างจานวน 30 คน ผลการวิจัยพบว่าผู้พูดภาษาไทย
เลือกใช้กลวิธีทางภาษาแบบลดนาหนักความรุนแรงในการแสดงความไม่พอใจมากกว่ากลวิธีทางภาษา
แบบตรงไปตรงมา ส่วนข้อคำนึงที่เป็นเหตุจูงใจที่ผู้พูดภาษาไทยคำนึงถึงในการใช้กลวิธีทางภาษาในการ
แสดงความไม่พอใจมี 2 ส่วน คือ 1. ข้อคำนึงที่เป็นเหตุจูงใจในส่วนที่เป็นวัตถุประสงค์ของการสนทนา
และ 2. ข้อคำนึงที่เป็นเหตุจูงใจในส่วนที่เป็นปริบทของการสนทนา โดยการรักษาความสัมพันธ์ของ
คู่สนทนาเป็นข้อคำนึงที่เป็นเหตุจูงใจที่ผู้พูดภาษาไทยส่วนใหญ่คำนึงถึงมากที่สุดในการใช้กลวิธีทางภาษา
ในการแสดงความไม่พอใจ พฤติกรรมทางภาษาดังกล่าวมีความสัมพันธ์กับปัจจัยทางสังคมวัฒนธรรม
3 ประการ ได้แก่ 1. การมีมุมมองตัวตนแบบพึ่งพา (an interdependent view of self) 2. ความเป็น
สังคมแบบอิงกลุ่ม (collectivism) และ 3. ความเป็นวัฒนธรรมปริบทสูง (High context culture )

Downloads

Published

2018-12-19

Issue

Section

บทความวิจัย