หมู่บ้านเสียงปืนแตก: ประวัติศาสตร์ การเคลื่อนไหวทางการเมือง และการสร้างอัตลักษณ์ของท้องถิ่นบ้านนาบัว
Keywords:
ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น, การเคลื่อนไหวทางการเมือง, การสร้างอัตลักษณ์, นาบัวAbstract
บทความนี้ศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นบ้านนาบัว อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม ระหว่าง พ.ศ. 2434–2560 โดยสนใจเรื่องราวความเป็นมา การเคลื่อนไหวทางการเมือง และการจัดการความ ทรงจำเพื่อสร้างอัตลักษณ์ร่วมของท้องถิ่น ผลการศึกษาพบว่า ท้องถิ่นบ้านนาบัวเป็นชุมชนชายขอบ ที่ดิ้นรนเพื่อปากท้องและต่อสู้กับอำนาจความเป็นใหญ่ของรัฐศูนย์กลางมาตลอด เริ่มจากการต่อสู้กับ ความยากลำบากในการบุกเบิกที่ทำกิน มาจนถึงการเข้าร่วมขบวนการคอมมิวนิสต์ต่อสู้กับรัฐบาลเพื่อ หวังปลดปล่อยตนเองจากความทุกข์ยากและการถูกกดขี่ ซึ่งกลายเป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่ทิ้งความทรงจำบาดแผลไว้ในชุมชน การเคลื่อนไหวทางการเมืองทำให้นาบัวถูกสังคมตีตราเป็นหมู่บ้านผู้ก่อการร้าย คอมมิวนิสต์ (ผกค.) และถูกตั้งข้อรังเกียจจากท้องถิ่นอื่นแม้แต่ในกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกัน กระทั่งทศวรรษ 2540 เมื่อกระแสการฟื้นฟูประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมชุมชนเกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง กลุ่มอดีตสหาย ได้สร้างพื้นที่ความทรงจำนำเสนออัตลักษณ์ร่วมของบ้านนาบัวในฐานะ “หมู่บ้านเสียงปืนแตก” หรือ “หมู่บ้านประวัติศาสตร์” ถือเป็นการตอบโต้การถูกตีตราเป็น ผกค. และใช้พลังจากอัตลักษณ์เข้าไปปรับ ความสัมพันธ์เชิงอำนาจกับรัฐศูนย์กลางและกับท้องถิ่นอื่น อย่างไรก็ดี การสร้างอัตลักษณ์ร่วมมิได้เป็น กระบวนการราบรื่น แต่ปรากฏความไม่ลงรอยกันระหว่างสมาชิกชุมชนที่แบ่งปันความทรงจำคนละชุด และมีบทบาททางสังคมแตกต่างกัน โดยท้องถิ่นได้พยายามจัดการกับความไม่ลงรอยนั้นนเพื่อให้ความเป็น “หมู่บ้านเสียงปืนแตก” สามารถดำรงอยู่ต่อไปได้