ชีวิตทางศาสนา กับสถานภาพและบทบาทของ “ผู้หญิงกำปง” ในหมู่บ้านมลายูมุสลมิชายแดนใต้

Authors

  • ชลิตา บัณฑุวงศ์ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Keywords:

ผู้หญิงมุสลิม, ชายแดนใต้, อิสลาม, กระแสการตื่นตัวในอิสลาม

Abstract

งานชิ้นนี้ ต้องการความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างชีวิตทางศาสนากับสถานะและบทบาท ในทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของผู้หญิงมลายูมุสลิมชายแดนใต้ โดยเน้นพิจารณาแหล่งที่มาของอำนาจและศักยภาพในการกระทำการของผู้หญิง ที่ประกอบด้วยทั้งความรู้ วัตรปฏิบัติ และความเคร่งครัด ทางศาสนา และความสัมพันธ์ภายในระบบครอบครัวและเครือญาติ งานชิ้นนี้ ศึกษากลุ่ม “ผู้หญิงกำปง” ซึ่งเป็นผู้หญิงชาวบ้านทั่วไปที่มีชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในโลกของ “กำปง” (หมู่บ้าน) มากกว่าโลกภายนอก ปากกัดตีนถีบหาเลี้ยงครอบครัว และมีการศึกษาไม่สูงนักทั้งทางสายสามัญและสายศาสนา งานชิ้นนี้ ชี้ว่าท่ามกลางกระแสการการตื่นตัวในศาสนาอิสลาม “ผู้หญิงกำปง” ที่นับถืออิสลามแบบพื้นบ้าน หรือ “สาย เก่า” มีบทบาทสำคัญในการทำนุบำรุงศาสนา ผ่านความมุ่งมั่นตั้งใจเรียนศาสนาเพิ่มเติม การมีวัตรปฏิบัติที่ เคร่งครัด และการเป็นผู้ลงแรงในกิจกรรมต่าง ๆ ทางศาสนา ทั้งนี้ ชีวิตในทางศาสนาเช่นนี้ ได้ช่วยส่งเสริม ให้พวกเธอมีสถานะและบทบาทที่ดีในทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองทั้งในระดับครอบครัวและระดับ ชุมชนด้วย กระนั้นระบบเครือญาติและรูปแบบการตั้งถิ่นฐานหลังการแต่งงานที่บ้านและชุมชนของฝ่ายหญิง ก็มีส่วนอย่างมากด้วยในการกำหนดว่า ผู้หญิงที่มีสถานะในทางศาสนาจะสามารถมีสถานะในทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองด้วยหรือไม่ อย่างไรก็ดี สถานะและบทบาทของ “ผู้หญิงกำปง” แทบไม่มีความหมาย เมื่อต้องเผชิญกับอำนาจภายนอกที่เหนือกว่า ทั้งหน่วยงานด้านความมั่นคง ความทันสมัยในทางโลก ตลอดจนโครงการพัฒนาที่ส่งต่อระบบนิเวศและการเกษตร

Downloads

Published

2018-12-19

Issue

Section

บทความวิจัย