การรับรู้การวัดผลการศึกษาของอาจารย์และนักศึกษาระดับปริญญาตรี สายสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
Keywords:
การวัดผลทางการศึกษา, การรับรู้, อาจารย์, นักศึกษา, สายสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการวัดผลการศึกษาผ่านการรับรู้ของนักศึกษาและอาจารย์ระดับปริญญาตรี เพื่อเปรียบเทียบการรับรู้ของนักศึกษาและอาจารย์ต่อการวัดผลทางการศึกษาระดับปริญญาตรีและเพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการรับรู้ของนักศึกษาและอาจารย์ต่อการวัดผลทางการศึกษาระดับปริญญาตรี ในสายสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research Method) และใช้สถิติ Independent T-test, Pearson Correlation, Mann Whitney U Test และ Kruskal-Wallis วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ เก็บรวบรวมข้อมูลแบบสอบถามออนไลน์ (Google form) จากอาจารย์ 28 คน และนักศึกษา 91 คน ทั้งหมด 119 คน ผลการศึกษาพบว่า
1) การวัดผลทางการศึกษายังมีสิ่งที่ควรปรับปรุง ทั้งวิธีการวัดผลที่อาจารย์เลือกใช้ควรมีการถามความคิดเห็นของนักศึกษา เนื่องจากยังมีการรับรู้ที่ความแตกต่างกันสูง โดยเฉพาะการรับรู้ด้านความพึงพอใจ
2) อาจารย์มีการรับรู้มากกว่านักศึกษาทุกด้านที่แตกต่างกัน ทั้งด้านคุณธรรม จริยธรรมและด้านความรู้ ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา และมีการรับรู้แตกต่างกันในด้านการทดสอบแบบปากเปล่าและแบบปฏิบัติ รวมถึงมีการรับรู้ที่ต่างกันด้านความพึงพอใจต่อผลลัพธ์ของการวัดผลทางการศึกษา
3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการรับรู้ของอาจารย์คืออายุและเพศ ในขณะที่อายุ เกรดเฉลี่ย และเพศส่งผลต่อการรับรู้ของนักศึกษา
จากผลการศึกษานำมาสู่ข้อเสนอแนะที่เห็นได้ว่าการรับรู้ของอาจารย์และนักศึกษามีความแตกต่างกันในบางเรื่อง ฉะนั้นการวัดผลทางการศึกษาทั้งเป้าหมาย วิธีการใช้ และผลลัพธ์ที่ได้ ควรมีการทำความเข้าใจหรือตกลงร่วมกันระหว่างอาจารย์และนักศึกษาซึ่งเป็นผู้มีตำแหน่งบทบาทโดยตรงต่อวงการการศึกษา