การเข้าถึงทรัพยากรที่ดินในมุมมองความเป็นธรรมทางสังคม

Authors

  • กัญญาภัทร เครือปาน นักวิจัยอิสระ

Keywords:

ความเป็นธรรมทางสังคม, เศรษฐกิจ, การกระจายทรัพยากร, สังคมไทย, ความเหลื่อมล้ำ

Abstract

บทความวิจัยนี้นำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับรายงานวิจัยโครงการพัฒนาดัชนีชี้วัดความเป็นธรรมทางสังคมในมิติเศรษฐกิจการกระจายทรัพยากร จากการวิจัยเชิงสำรวจผ่านเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามในโครงการจัดทำดัชนีชี้วัดความเป็นธรรมทางสังคม พบว่าในมิติเศรษฐกิจการกระจายทรัพยากรมีระดับความเป็นธรรม ใน 6 เดือนแรก (ก.ค. – ธ.ค. 2560) คิดเป็นร้อยละ 64.97 และความเป็นธรรมในรอบ 6 เดือนหลัง (ม.ค. – มิ.ย. 2561) คิดเป็นร้อยละ 53.38 เปลี่ยนแปลงลดลงจาก 6 เดือนแรกร้อยละ 11.59  ซึ่งแสดงให้เห็นถึงระดับความเป็นธรรมที่ลดลง นอกจากนี้ยังได้ มิติเศรษฐกิจการกระจายทรัพยากรแบ่งออกเป็นมิติ ย่อย 2 มิติได้แก่ ด้านการจำแนกแจกจ่ายผลผลิตและรายได้ และด้านการเข้าถึงและการได้รับสาธารณูปโภค บริการสาธารณะ พบว่ามิติย่อยการจำแนกแจกจ่ายผลผลิตและรายได้มีระดับความเป็นธรรมทางสังคมเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นจาก 6 เดือนแรก ร้อยละ 5.45 และมิติย่อยการเข้าถึงและการได้รับสาธารณูปโภค บริการสาธารณะมีระดับความเป็นธรรมทางสังคมเปลี่ยนแปลงลดลงจาก 6 เดือนแรก ร้อยละ 28.61  ถึงแม้ว่าผลการศึกษาในมิติย่อยที่1จะมีระดับความเป็นธรรมทางสังคมที่เพิ่มขึ้นแต่ก็ไม่มาก เมื่อเทียบกับมิติย่อยที่ 2 ที่มีระดับความเป็นธรรมทางสังคมที่ลดลงมากอย่างเห็นได้ชัด อาจสะท้อนได้ว่ากลุ่มตัวอย่างได้รับความเป็นธรรมในการเข้าถึงทรัพยากรต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นที่ดินทำกิน โอกาสในการทำงานที่เพิ่มขึ้น แต่อาจมีข้อจำกัดที่กลุ่มตัวอย่างไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยตัวเอง รวมถึงโอกาสในการเข้าถึงบริการที่ควรจะได้รับยังไม่ดีเท่าที่ควร ซึ่งสอดคล้องกับ การสัมภาษณ์สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ (สกน.) ที่ประสบปัญหาเรื่องการเข้าถึงที่ดินในการประกอบอาชีพ เนื่องจากชาวบ้านยังเข้าไม่ถึงในทรัพยากรที่ดินอย่างครอบคลุม จนนำไปสู่การผลักดันเรื่องกฎหมายที่ต้องการให้รัฐได้แก้ไขและร่วมกันพัฒนาเพื่อชาวบ้านมีโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากรที่ดินมาขึ้น ปัญหาเรื่องที่ดินเป็นปัญหาที่กระจายไปยังเรื่องอื่นไม่ว่าจะเป็นสวัสดิการหรือนโยบายที่รัฐจัดให้แก่ประชาชนเป็นเพียงโครงการที่เข้ามาสนับสนุนชั่วคราว หากมีการให้สิทธิในที่ดินก็จะเป็นทรัพยากรที่สามารถประกอบอาชีพและอยู่อาศัยได้

Downloads

Published

2019-08-26

Issue

Section

บทความวิจัย