ความคาดหวังและแนวโน้มพฤติกรรมการเลือกตั้งของคนรุ่นใหม่ต่อ การใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2562: กรณีศึกษานักศึกษาระดับชั้นปริญญาตรี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

Authors

  • วริศรา ศิริชานนท์ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Keywords:

คนรุ่นใหม่, การเลือกตั้ง, การใช้สิทธิเลือกตั้ง, ผู้มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรก

Abstract

          การศึกษาวิจัยเรื่อง ความคาดหวังและแนวโน้มพฤติกรรมการเลือกตั้งของคนรุ่นใหม่ต่อการใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิก สภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2562 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคาดหวังและพฤติกรรมการเลือกตั้งของคนรุ่นใหม่ต่อการใช้สิทธิเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2562 โดยอาศัยแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณในการเก็บรวบรวมข้อมูล จากกลุ่ม ตัวอย่างที่เป็นนักศึกษาระดับชั้นปริญญาตรี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต จำนวน 238 คน และวิเคราะห์ข้อมูลผ่านโปรแกรม สำเร็จรูปทางสถิติ

          ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสัมพันธ์ต่อความคาดหวังและแนวโน้มพฤติกรรมการเลือกตั้งของคนรุ่นใหม่ต่อการใช้สิทธิเลือกตั้ง ได้แก่ เพศ ชั้นปีที่กำลังศึกษา คณะที่กำลังศึกษา ภูมิลำเนา ที่พักอาศัย การพักอาศัยอยู่กับใครการเคยเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมือง การคิดว่าการเมืองเป็นเรื่องของทุกคน ด้านความเป็นปึกแผ่นทางสังคม ด้านการมีส่วนร่วมทางการเมือง และด้านความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการเลือกตั้ง โดยความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีผลต่อความคาดหวังทางการเมืองของคนรุ่นใหม่ มี 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการเมือง ด้านกระบวนการทางการเมือง และความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีผลต่อแนวโน้มพฤติกรรมการเลือกตั้งของคนรุ่นใหม่ มี 2 ด้าน ได้แก่ ด้านแนวโน้มการลงคะแนนเลือกตั้ง และด้านรูปแบบการหาเสียงต่างมีความสัมพันธ์ทั้งเชิงบวกและลบ

          ข้อเสนอแนะจากการวิจัย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง ควรเน้นการประชาสัมพันธ์การเลือกตั้งทางสื่อออนไลน์ เพื่อให้คนรุ่นใหม่ได้รับข้อมูลข่าวสารทางการเมืองมากขึ้น และเชิญชวนให้คนรุ่นใหม่ที่สิทธิเลือกตั้งครั้งแรกไปใช้สิทธิเลือกตั้งให้มากที่สุด เนื่องจากคนรุ่นใหม่มีความคาดหวังและแนวโน้มพฤติกรรมการเลือกตั้งต่อการใช้สิทธิเลือกตั้งอยู่ในระดับโดยมาก

Downloads

Published

2019-12-26

Issue

Section

บทความวิจัย