มาตรวัดค่ามาตรฐาน PM2.5 และข้อเสนอแนะสำหรับมาตรการด้านฝุ่น PM2.5 ในประเทศไทย

Authors

  • รัตนาภรณ์ ศรแก้วดารา นักวิชาการอิสระ

Keywords:

มาตรวัดค่ามาตรฐาน, PM2.5, ดัชนีวัดคุณภาพอากาศ

Abstract

            ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) เป็นสสารที่ปนเปื้อนอยู่ในอากาศที่มีอันตรายสูงจากขนาดสสารที่มีความละเอียดในระดับไมโครคาร์บอน ทำให้องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดให้ PM2.5 จัดอยู่ในกลุ่มที่ 1 ของสารก่อมะเร็ง ตั้งแต่ปี พ.ศ.2556 อีกทั้งยังเป็นสาเหตุทำให้ 1 ใน 8 ของประชากรโลกเสียชีวิตก่อนวัยอันควร สอดรับกับรายงานของธนาคารโลก (World Bank) ที่ระบุว่า ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากมลพิษในอากาศเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรมากถึง 50,000 ราย ซึ่งการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรนี้ส่งผลกระทบไปถึงระบบเศรษฐกิจ รวมไปถึงค่าใช้จ่ายที่รัฐจะต้องสูญเสียเกี่ยวเนื่องกับการรักษาพยาบาลผู้ป่วยจากมลภาวะทางอากาศนี้อีกด้วย บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอความเข้าใจด้านฝุ่น PM2.5 รวมไปถึงสาเหตุของมลพิษทางอากาศ ผลกระทบที่มีต่อร่างกาย ดัชนีวัดคุณภาพอากาศทั้งไทยและต่างประเทศ ตลอดจนข้อเสนอแนะต่อมาตรการด้านฝุ่น PM2.5 ในประเทศไทย

            การตรวจวัด PM2.5 ประเทศไทยเริ่มดำเนินอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ.2544 เป็นต้นมา ในปี พ.ศ.2547 กรมควบคุมมลพิษมอบหมายให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศึกษาและยกร่างมาตรฐาน PM2.5 และเสนอแนะมาตรฐานสำหรับค่าเฉลี่ย PM2.5ท้ายที่สุด ในปี พ.ศ.2553 คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติออกประกาศฉบับที่ 23 กำหนดมาตรฐานฝุ่น PM2.5 โดยค่าเฉลี่ยในเวลา 24 ชั่วโมงจะต้องไม่เกิน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และค่าเฉลี่ยในเวลา 1 ปี จะต้องไม่เกิน 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งเป็นค่าที่ใช้วัดมาตรฐานมาจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้มาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 อาจทำได้โดยหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องตระหนักในการแก้ไขปัญหาในระยะยาว เช่น ให้ทุนสนับสนุนการวิจัยเทคโนโลยีหรือกับการควบคุมมลพิษก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งในการช่วยป้องกันและบรรเทาฝุ่น PM2.5 ทั้งนี้หากทุกภาคส่วนมีความร่วมมือกันทั้งการบูรณาการข้อมูลที่สำคัญ ตลอดจนมีเป้าหมายร่วมกัน ซึ่งทำให้เกิดการแก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

Downloads

Published

2019-12-26

Issue

Section

บทความวิจัย