เสวนาวิชาการเรื่อง รัฐกับวิกฤติการณ์ บทบาทของ กสศ. ในวิกฤติการศึกษาของเด็กไทยในช่วงโควิด-19

Authors

  • Paliporn Thanyananphol Equitable Education Fund Thailand

Keywords:

Equitable Education Fund, EEF, Covid-19

Abstract

กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) จัดตั้งขึ้นตามข้อเสนอของคณะกรรมการอิสระ เพื่อการปฏิรูปการศึกษา โดยปรากฎในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 มาตรา 54 มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา ช่วยเหลือผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา รวมทั้งเสริมสร้างและพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพครู ผ่านการบริหารงานที่เป็นอิสระ โดยมีรัฐเป็นผู้จัดสรรงบประมาณให้แก่กองทุน ทำงานในเชิงวิจัย ค้นคว้า รวมถึงการทดลองแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา มีภารกิจในการช่วยเหลือดูแลกลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ หรือ ด้อยโอกาสนับตั้งแต่แรกเกิดจนถึงวัยแรงงานให้ได้รับโอกาสทางการศึกษา เพื่อบรรเทาความยากจนอันเป็นรากเหง้าของปัญหาอื่น ซึ่งหากแก้ไม่ได้ ปัญหานี้จะส่งต่อไปข้ามชั่วคน จากพ่อแม่ส่งต่อไปถึงรุ่นลูกรุ่นหลานได้ เพราะมีกลุ่มคนที่อาจเข้าไม่ถึงการศึกษา หรือได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพต่างกัน

บทบาทการดำเนินงาน ในการพัฒนาแบบ และ องค์ความรู้ เพื่อสร้างความเสมอภาคให้สำเร็จ ผ่านการผลักดันนโยบาย สนับสนุนหน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้องนำไปใช้ขยายผล อันจะนำไปสู่ผลลัพธ์เปลี่ยนแปลงชีวิตเด็กและเยาวชนได้อย่างเป็นรูปธรรม เสริมสร้างองค์ความรู้และบริการจัดการเชิงระบบ เพื่อสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา ใช้ความรู้และข้อมูลเป็นที่ตั้ง เพื่อช่วยเหลือและสร้างคุณค่าเพิ่มแก่กลุ่มเป้าหมาย ระดมความร่วมมืออย่างสร้างสรรค์จากทุกภาคส่วน เสนอแนะมาตรการเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ กลุ่มเป้าหมายเป็นประชากรที่ยากจนที่สุดร้อยละ 15 ของประเทศทุกช่วงวัย โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ทั้งในระบบและนอกระบบการศึกษา เพิ่มโอกาสการเข้าถึงการศึกษาและเพิ่มทักษะอาชีพในการปฏิบัติงาน

References

-

Downloads

Published

2022-12-09

How to Cite

Thanyananphol, P. . (2022). เสวนาวิชาการเรื่อง รัฐกับวิกฤติการณ์ บทบาทของ กสศ. ในวิกฤติการศึกษาของเด็กไทยในช่วงโควิด-19. Thammasat Journal, 41(3), 9–15. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/tujo/article/view/272003

Issue

Section

บทความวิจัย