หลักการพื้นฐานในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา
Abstract
การใช้อำนาจรัฐในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาโดยเจ้าหน้าที่รัฐย่อมส่งผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนทั้งฝ่าย ผู้ต้องหา ผู้เสียหายและพยาน เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ในการดำรงความยุติธรรมเพื่อรักษาความสงบสุขของสังคม ดังนั้น นอกจากจะต้องมีความแม่นยำในบทบัญญัติแห่งตัวบทกฎหมายแล้วฝ่ายนิติบัญญัติและเจ้าหน้าที่รัฐผู้บังคับใช้กฎหมายทั้งตำรวจ อัยการ ผู้พิพากษา จะต้องมีความรู้ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงหลักการพื้นฐานในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาที่สำคัญที่เป็นหลักการและเหตุผลเบื้องหลังตัวบทกฎหมายนั้นๆด้วย เพื่อให้การตรากฎหมายการบังคับใช้ และการตีความกฎหมายของเจ้าหน้าที่รัฐเป็นไปอย่างถูกต้องมีความสอดคล้องกับหลักการพื้นฐานต่าง ๆ ตามมาตรฐานสากล บทความนี้ได้นำเสนอหลักการพื้นฐานในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาที่สำคัญรวบรวมจากเอกสารต่าง ๆ ในระดับนานาชาติ เช่น กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ เป็นต้น หลักการพื้นฐานที่นำเสนอประกอบด้วย ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิของผู้ต้องหา หลักการไม่ถูกดำเนินคดีหลายครั้ง หลักการปกครองโดยกฎหมายหรือหลักนิติธรรม หลักการดำเนินคดีที่เป็นธรรม หลักการแบ่งแยกอำนาจ และหลักอำนาจนิติบัญญัติมอบอำนาจไม่ได้ ซึ่งถือว่าเป็นหลักการที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
คำสำคัญ: หลักการพื้นฐาน, ความยุติธรรม, กฎหมาย