สภาพ ปัญหาและความต้องการทำวิจัยสถาบันของบุคลากรสายสนับสนุนการเรียน การสอน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหา และความต้องการ เปรียบเทียบความคิดเห็น และแนวทางการส่งเสริมการทำวิจัยสถาบันของบุคลากรสายสนับสนุนการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรสายสนับสนุนการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ไปจำนวน 311 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาตัวแปรอิสระได้แก่ เพศ ระดับการศึกษา ประเภทของการทำงาน ประสบการณ์การทำงาน ตัวแปรตาม คือสภาพ ปัญหาและความต้องการทำวิจัยสถาบัน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรม SPSS for Window V. 13.0 ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
- วิเคราะห์ระดับความคิดเห็นต่อสภาพ ปัญหาและความต้องการทำวิจัยสถาบัน ของบุคลากรอยู่ในระดับน้อยถึงระดับมาก
- เปรียบเทียบความแตกต่างระดับความคิดเห็นโดยแยกตามระดับการศึกษาและประเภทการทำงานของบุคลากร พบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ o.o5 ส่วนประสบการณ์การทำงานไม่พบความแตกต่างทางสถิติ
- แนวทางการส่งเสริมการทำวิจัยสถาบันของบุคลากรสายสนับสนุนการเรียนการสอน ควรจัดเป็นหลักสูตรการอบรมทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติควบคู่กัน แบ่งเนื้อหาการอบรมเป็นแต่ละขั้นตอน จัดเวลาให้เหมาะสมกับผู้เข้าอบรม มีผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้านคอยให้คำปรึกษาตลอดหลักสูตร ประชาสัมพันธ์ สนับสนุนเรื่องทุนการทำวิจัยและทุนตีพิมพ์บทความวิจัย จัดประกวดผลงานวิจัยและรางวัลพร้อมใบประกาศเกียรติคุณสำหรับผลงานวิจัยดีเด่น
คำสำคัญ: สภาพ ปัญหา ความต้องการ, วิจัยสถาบัน, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
Downloads
Published
2014-12-31
Issue
Section
บทความวิจัย