การใช้ E-Learning เป็นสื่อการเรียนเสริมหัวข้อ รูปแบบการศึกษา ทางวิทยาการระบาดของนักศึกษาแพทย์ปีที่ 5

Authors

  • สวณี เต็งรังสรรค์ สาขาเวชศาสตร์ชุมชน สถานเวชศาสตร์ชุมชนและเวชศาสตร์ครอบครัว คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Abstract

     งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยแพทยศาสตร์ศึกษา เพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาแพทย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ชั้นปี 5 ปีการศึกษา 2555 ในการเรียนหัวข้อรูปแบบการวิจัยทางวิทยาการระบาด โดยผ่านระบบ E-Learning เปรียบเทียบกับผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาแพทย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ชั้นปีที่ 5 ปีการศึกษา 2554 กำหนดให้นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 5 ปีการศึกษา 2555 ที่ศึกษาอยู่ที่คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต จำนวน 61 คน ศึกษาเนื้อหาหัวข้อรูปแบบการวิจัยทางวิทยาการระบาดผ่านระบบ E-Learning ด้วยตนเองก่อนที่จะเข้าเรียนในชั่วโมง Topic Discussion ในหัวข้อเดียวกัน จากนั้นเก็บรวบรวมผลสอบลงกองของนักศึกษาทั้ง 61 คน เฉพาะหัวข้อนี้ซึ่งมีข้อสอบ 5 ข้อ รวมทั้งค่าความยากง่าย และค่า Acceptant index (AI) ของข้อสอบด้วย แล้วนำมาเปรียบเทียบผลสอบลงกอง ความยากง่ายและค่า AI ในหัวข้อเดียวกันนี้กับนักศึกษาแพทย์ปีที่ 5 ปีการศึกษา 2555 และวิเคราะห์หาความแตกต่างด้วยสถิติ Independent t-test ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95  

          ผลสอบลงกองของนักศึกษาแพทย์ปีที่ 5 ปีการศึกษา 2555 ได้คะแนนเฉลี่ยสูงกว่านักศึกษาแพทย์ปีที่ 5 ปีการศึกษา 2554 เพียงเล็กน้อย (3.48, 3.09 ตามลำดับ) และไม่พบความแตกต่างทางสถิติ (p=0.056) ในขณะที่ความยากง่ายของข้อสอบ ปีการศึกษา 2555 ยากกว่าปีการศึกษา 2554 (0.20, 0.34 ตามลำดับ) แต่ค่า AI มีค่าใกล้เคียงกัน (0.46, 0.43 ตามลำดับ) คะแนนสอบลงกองโดยเฉลี่ยของนักศึกษาแพทย์ปีที่ 5 ปีการศึกษา 2555 สูงกว่าปีการศึกษา 2554 แต่ยังไม่พบความแตกต่างทางสถิติ เป็นที่น่าสังเกตว่าค่าความยากง่ายของข้อสอบของทั้ง 2 ปีการศึกษามีความแตกต่างกัน ซึ่งอาจบอกโดยนัยว่าความสามารถของนักศึกษาทั้ง 2 ปีการศึกษาแตกต่างกัน               และไม่สามารถควบคุมได้

คำสำคัญ: สื่อการเรียนเสริม, รูปแบบการศึกษาทางวิทยาการระบาด, นักศึกษาแพทย์

Downloads

Published

2014-12-31

Issue

Section

บทความวิจัย