แนวคิดเรื่องประชาสังคมโลกและการเปลี่ยนผ่านสู่ภาคปฏิบัติ: ประเด็นการแทรกแซงด้านมนุษยธรรมและ “หลักรับผิดชอบเพื่อปกป้อง”

Authors

  • จันจิรา สมบัติพูนศิริ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Abstract

     บทความนี้นำเสนอว่าแนวคิดและปฏิบัติการของ “ประชาสังคมโลก” (Global Civil Society) ในการแทรกแซงด้านมนุษยธรรม (Humanitarian Intervention) รวมถึงการประยุกต์ใช้หลักรับผิดชอบเพื่อปกป้อง (Responsibility to Protect: R2P) นับแต่ช่วงหลังสงครามเย็นเป็นต้นมาส่งผลให้องค์ความรู้การเมืองระหว่างประเทศ (International Relations) เปลี่ยนไปอย่างไร โดยเริ่มจากฉายภาพให้เห็นถึงรากฐานทางทฤษฎีของแนวคิดว่าด้วยภาคประชาสังคมโลกจากนั้นแสดงให้เห็นว่าแนวคิดดังกล่าวสะท้อนในภาพปฏิบัติของการเมืองโลกอย่างโดยเฉพาะในประเด็นการแทรกแซงด้านมนุษยธรรม บทความนี้ถกเถียงว่าการผสานกันระหว่างแนวคิดกับภาคปฏิบัตินี้ช่วยเปลี่ยนหน้าตาขององค์ความรู้การเมืองระหว่างประเทศจากที่เน้นให้รัฐเป็นตัวละครหลักและยึดโยงกับอำนาจอธิปไตยรวมถึงผลประโยชน์ของรัฐเท่านั้นเป็นตัวละครไม่ใช่รัฐและใส่ใจกับประเด็นที่เกี่ยวกับ“ความมั่นคงของมนุษย์” รวมถึงก้าวข้ามเส้นแบ่งตายตัวซึ่งแยกการเมืองภายในออกจากภายนอก บทความแบ่งออกเป็นสามส่วน ส่วนแรกอภิปรายรากฐานทางความคิดว่าด้วยประชาสังคมโลก ส่วนที่สองเสนอบทบาทของประชาสังคมโลกในปฏิบัติการแทรกแซงด้านมนุษยธรรมและการประยุกต์ใช้หลักรับผิดชอบเพื่อปกป้อง ส่วนสุดท้ายวิเคราะห์ว่าบทบาทที่ทวีขึ้นของประชาคมโลกส่งผลต่อองค์ความรู้การเมืองระหว่างประเทศอย่างไร

คำสำคัญ: ประชาสังคมโลก, การแทรกแซงด้านมนุษยธรรม, หลักรับผิดชอบเพื่อปกป้อง, องค์ความรู้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ 

Downloads

Published

2014-12-31

Issue

Section

บทความวิจัย