ประสิทธิผลการบริหารจัดการการลดอุบัติเหตุทางถนนในกรุงเทพมหานคร
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษานโยบายการบริหารจัดการการลดอุบัติเหตุทางถนน
เพื่อศึกษาปัจจัยที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุทางถนนและเพื่อศึกษาประสิทธิผลการบริหารจัดการลดอุบัติเหตุทางถนนในเขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และ
เชิงปริมาณ (QuantitativeResearch) บทความนี้ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นระเบียบวิธีเป็นแนวทางหลักในการอธิบายปรากฎการณ์เพื่อตอบคำถามการวิจัย โดยการศึกษาวิจัยข้อมูลจากเอกสาร
(Documentary Research) เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview)
กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้เชี่ยวชาญ เจ้าหน้าที่รัฐ และภาคเอกชน ส่วนในเชิงปริมาณนั้นเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการแจกแบบสอบถาม
ผลการวิจัยพบว่า นโยบายการบริหารจัดการการลดอุบัติเหตุทางถนน การป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนของประเทศไทยนั้น ได้ดำเนินการตามมติปฏิญญามอสโกของสหประชาชาติ และโดยนำกรอบมาทำแม่บทแผนดำเนินการต่างๆ ทั้งนี้ ประเทศไทยถือได้ว่าเป็นไปตามมาตรฐานสากล ที่กำหนดแนวทางการบริการไว้นั้นปัจจัยที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุทางถนนสาเหตุหลัก พบว่า พฤติกรรมของคนทำให้เกิดอุบัติเหตุมากที่สุด คนประมาท คนไม่มีจิตสำนึก ฝ่าฝืนกฎระเบียบกฎหมาย รองลงมาคือ รถ ถนน และสิ่งแวดล้อมตามลำดับ สำหรับประสิทธิผลการบริหารจัดการลดอุบัติเหตุทางถนนในเขตกรุงเทพมหานครนั้นพบว่า การบริหารจัดการลดอุบัติเหตุทางถนนในเขตกรุงเทพมหานคร จะมีปัญหาในเรื่องของการบริหารจัดการเนื่องจากงานมีหน่วยงานซ้ำซ้อน อำนาจหน้าที่ ความรับผิดชอบไม่มีความชัดเจนการบริหารจัดการจึงไม่เป็นเอกภาพ การประสานงานระหว่างหน่วยงานต่างๆ กรุงเทพมหานครจึงไม่มีผลสัมฤทธิ์เป็นไปตามที่ทางศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนได้มุ่งหมายไว้ โดยเฉพาะจำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนในกรุงเทพมหานครยังไม่ลดลงตามเป้าหมายขององค์การสหประชาชาติที่ให้ลดการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนให้ได้ครึ่งหนึ่งภายในปี พ.ศ. 2564 (ในอัตราการเสียชีวิตในแต่ละปีไม่ให้เกินจำนวนร้อยละ 10 คน ต่อจำนวนประชากร 100,000 คน) เช่นในปี พ.ศ. 2556 มีผู้เสียชีวิตจำนวน 353 คน ในจำนวนประชากรกรุงเทพมหานครตามทะเบียนราษฎร์ ประมาณ 5,700,000 คน ซึ่งคิดเป็นประมาณ 19 คน ต่อประชากร 100,000 คน
คำสำคัญ : กรุงเทพมหานคร, อุบัติเหตุทางถนน, ลดอุบัติเหตุ, การบริหาร