ความรู้และทัศนคติของประชาชนที่มีผลต่อพฤติกรรมการอนุรักษ์ป่าชายเลน : กรณีศึกษา อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช

Authors

  • จุฑาธิป ถิ่นถลาง

Abstract

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเรื่องความรู้ ทัศนคติที่เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติ
ป่าชายเลน การมีส่วนร่วม และสิทธิชุมชน และพฤติกรรมการอนุรักษ์ป่าชายเลนของประชาชน ความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการอนุรักษ์ป่าชายเลนของประชาชนในอำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับหัวหน้าครัวเรือนหรือตัวแทนของครัวเรือนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 300 ครัวเรือน และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) จำนวน 4 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด และค่าต่ำ สุด และสถิติการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression Analysis) ส่วนข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) นำเสนอโดยวิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis)
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติ ป่าชายเลน การมีส่วนร่วม และสิทธิชุมชนในระดับปานกลาง มีทัศนคติเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติ ป่าชายเลน การมีส่วนร่วม และสิทธิชุมชนในระดับมาก และมีพฤติกรรมการอนุรักษ์ป่าชายเลนของประชาชนในระดับปานกลาง นอกจากนี้ ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม พบว่า ผู้ที่มีการศึกษาระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย อนุปริญญาหรือเทียบเท่า ปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ผู้ที่เป็นบุตร/ธิดาในครัวเรือน ผู้ที่มีสถานภาพหย่า/แยกกันอยู่ ผู้ที่ไม่มีตำแหน่งทางสังคม ผู้ที่ว่างงาน ผู้ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์จากป่าชายเลน ผู้ที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครัวเรือนมาก ผู้ที่มีขนาดที่ดินที่ถือครองน้อย จะมีคะแนนพฤติกรรมการอนุรักษ์ป่าชายเลนน้อยกว่าผู้ที่ไม่มีลักษณะดังกล่าว

Downloads

Published

2015-01-01

Issue

Section

บทความวิจัย