การวิจัยเชิงปฏิบัติการและกระบวนการวิจัยแบบร่วมมือ: วิธีวิทยาวิจัยสำหรับการวิจัยสะเต็มศึกษาในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ

Main Article Content

จุมพลภัทร์ ไชยสัตย์

บทคัดย่อ

สะเต็มศึกษา (STEM Education) เป็นการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการบูรณาการศาสตร์สี่ศาสตร์ ได้แก่ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ มีเกี่ยวข้องกับการเตรียมคนเพื่อประกอบอาชีพทางสะเต็มและเตรียมคนเพื่อดำรงชีวิตอยู่ในยุคของการเปลี่ยนแปลงด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในศตวรรษที่ 21 การพัฒนากำลังคนด้านสะเต็มศึกษาควรมุ่งเน้นการพัฒนาความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้ทักษะ เจตคติและคุณลักษณะต่าง ๆ อย่างเป็นองค์รวมในการปฏิบัติงาน การแก้ปัญหาและการใช้ชีวิต เป็นการเรียนการสอนที่เชื่อมโยงกับชีวิตจริง การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านสะเต็มศึกษาโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพมีความสำคัญ เป็นการรวมตัว ร่วมมือร่วมใจ และร่วมเรียนรู้ร่วมกันของครู ผู้บริหาร และนักการศึกษา บนพื้นฐานความสัมพันธ์แบบกัลยาณมิตร มีวิสัยทัศน์ คุณค่า เป้าหมาย และภารกิจร่วมกัน โดยทำงานร่วมกันแบบทีมการเรียนรู้ที่มีครูเป็นผู้นำร่วมกัน และผู้บริหารเป็นผู้ดูแลสนับสนุนสู่การเรียนรู้และพัฒนาวิชาชีพเปลี่ยนแปลงคุณภาพตนเอง สู่คุณภาพการจัดการเรียนรู้ที่เน้นความสำเร็จหรือประสิทธิผลของผู้เรียนเป็นสำคัญและความสุขของการทำงานร่วมกันของสมาชิกในชุมชนการเรียน ดังนั้นครูผู้สอนต้องมีความรู้ความเข้าใจในระเบียบวิธีวิทยาวิจัยและเลือกระเบียบวิธีวิจัยที่เหมาะสมและสอดคล้องในการพัฒนาผู้เรียน ซึ่งระเบียบวิธีวิจัยที่เหมาะสมในการพัฒนาผู้เรียนด้านสะเต็มศึกษาประกอบด้วย การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) และกระบวนการวิจัยแบบร่วมมือ (Collaborative Research)

Article Details

บท
Academic Article

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564). กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ.

กรัณย์พล วิวรรธมงคล. (2561). รูปแบบการพัฒนาครูโดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริม ความสามารถจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts) Vol. 11 No. 3 (2018): ฉบับภาษาไทย มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ (กันยายน - ธันวาคม 2561)

ชาญ เถาวันนี (2564). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิชาฟิสิกส์ระดับมัธยมศึกษาปลายตามแนวคิด STEM Education ด้วยกระบวนการชุมชนแห่งการ เรียนรู้ (PLC). นิทรรศการผลงานวิจัย นวัตกรรมสถานศึกษาออนไลน์ของคุรุสภา (KSP Webinar 2021). เข้าถึงได้จาก https://kspwebinar.com/?p=442

ชฎาลักษณ์ จิตราช และ ปริณ ทนันชัยบุตร. (2563). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาและความคิดสร้างสรรค์โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาแบบ 6E Learning ร่วมกับการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในรายวิชาชีววิทยา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 21. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

นันทชา อัมฤทธิ์. (2559). การวิจัยปฎิบัติการเพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐานตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เรื่อง งานและพลังงาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1.วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ปัฐมาภรณ์ พิมพ์ทอง. (2564). การจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา. กรุงเทพฯ: วิสต้า อินเตอร์ ปริ้นท์.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2551). การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. สะเต็มศึกษากับกระบวนการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21.สืบค้นออนไลน์เข้าถึงได้จาก https://www.scimath.org/article-stem/item/9112-21

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาชาติ พ.ศ.2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิก.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). เเนวทางการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. นนทบุรี: 21 เซ็นจูรี่.

สำราญ กำจัดภัย. (2556). เอกสารประกอบการสอนหลักสูตรการวิจัยในชั้นเรียน (ฉบับที่ 3). สกลนคร : คณะครุศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

แสงรุนีย์ มีพร. (2563). ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ : เส้นทางสู่การพัฒนาวิชาชีพครู. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม : ปีที่ 14 ฉบับที่ 2 เมษายน - มิถุนายน พ.ศ. 2564.

วิชัย วงษ์ใหญ่ และ มารุต พัฒผล. (2562). การพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

วีระยุทธ์ ชาตะกาญจน์. (2558). การวิจัยเชิงปฏิบัติการ. วารสารราชภัฎสุราษฎร์ธานี, ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม - มิถุนายน 25588).

Creswell, John W. (2012). Education Research: Planning Conducting and Evaluating Quantitative and Qualitative Research (4th ed). Boston Pearson Education, Inc.

Johnson, A.P. ( 2008). A Short Guide to Action Research (3rd ed.). Boston: Pearson Education.

Kemmis, S & McTaggart, R. (1988). The Action Research Planner (3rd ed.). Victoria: Deakin University.