การพัฒนาทักษะการประเมินผลเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของครูผู้สอนในชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพโรงเรียนพิศาลปุณณวิทยา

Main Article Content

ทิวาภรณ์ เลิศวีรพล
ชนกนาถ ประสมทอง
วรรณภา สมตา
โชคชัย ยืนยง

บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอผลการพัฒนาทักษะครูเกี่ยวกับการประเมินผลเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ผู้เรียนผ่านการเรียนรู้ของครูผู้สอนในชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพโรงเรียนพิศาลปุณณวิทยา วิธีวิทยาวิจัยยึดถือกระบวนทัศน์การวิจัยเชิงคุณภาพ  กลุ่มเป้าหมาย คือครูผู้สอนที่เป็นครูช่วยสอนวิชาวิทยาศาสตร์ ที่จบปริญญาตรีทางวิศวกรรม และมีประสบการณ์การสอน 1 ปีก่อนการเข้าร่วมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ การเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลคำนึงถึงตัวบ่งชี้คุณภาพของงานวิจัยเชิงคุณภาพทั้ง 4 ประการ รวมกันเรียกว่า ความคู่ควรแก่การไว้วางใจ (trustworthiness) การตีความทักษะครูเกี่ยวกับการประเมินผลเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ผู้เรียน ดำเนินการโดยสมาชิกในชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพ เครื่องมือที่ใช้ในการตีความได้แก่ การสังเกตแบบมีส่วนร่วม  รายงานการสะท้อนผล การสัมภาษณ์ครูผู้สอน และ ใบกิจกรรม  การวิเคราะห์ข้อมูล ทำได้โดยจัดกลุ่มประเด็นการทักษะครูเกี่ยวกับการประเมินผลเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ผู้เรียน ผลการศึกษาพบว่าครูมีการพัฒนาทักษะการประเมินผล ในประเด็นต่อไปนี้ 1) ส่งเสริมให้ผู้เรียนสร้างความหมายของคำสำคัญได้ด้วยตนเอง 2) ครูตรวจสอบความเข้าใจของผู้เรียนอย่างทั่วถึงและให้ข้อมูลย้อนกลับที่ตรงประเด็นได้ทันที 3) ครูสามารถใช้คำถามกระตุ้นให้เกิดการอภิปรายโต้ตอบระหว่างเรียน 4) ครูสามารถตั้งคำถามและใช้การประเมินเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้พร้อมกับการกิจกรรมการเรียนรู้ได้ดีขึ้นในทุกสัปดาห์

Article Details

บท
Article

References

จีระวรรณ เกษสิงห์. (2555). คุณภาพของงานวิจัยเชิงคุณภาพ. ใน ลือชา ลดาชาติ (บ.ก.), การวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อศึกษาความเข้าใจของนักเรียน (น. 102–121). โรงพิมพ์อักษรไทย (น.ส.พ. ฟ้าเมืองไทย).

โชคชัย ยืนยง (2561) ยุทธวิธีการจัดการเรียนรู้มโนมติฟิสิกส์. ขอนแก่น: โรงพิมพ์ขอนแก่นการพิมพ์

สมพร มณีอ่อน (2559) การพัฒนาครูในศตวรรษที่ 21 โดยใช้เทคนิคการโค้ช (Coaching). วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. ปีที่ 15 ฉบับที่ 2 หน้า 61 – 73.

เอกภูมิ จันทรขันตี (2561). รูปแบบของระบบพี่เลี้ยงและให้คำปรึกษาเพื่อพัฒนาความสามารถในการสอน และการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของครูวิทยาศาสตร. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 หน้า 128 – 141

Bell, B. (2000). Formative assessment and science education: Modelling and theorising. In R. Millar, J. Leach, & J. Osborne (Eds.), Improving science education: The contribution of research. Buckingham: Open University Press.

Bell, B. and Cowie, B. (2001). The Characteristics of Formative Assessment in Science Education. Science Education, 85: 536 – 553.

Berlak, H. (1992). The need for new science of assessment. In H. Berlak, F. M. Newmann, E. Adams, D. A. Archbald, T. Burgess, J. Raven, & T. A. Romberg (Eds.), Toward a new science of educational testing and assessment (pp. 1–22). Albany: State University of New York Press.

Black, P. (1993). Formative and summative assessment by teachers. Studies in Science Education, 21, 49–97.

Black, P. (1995). Can teachers use assessment to improve learning? British Journal of Curriculum & Assessment, 5(2), 7–11.

Black, P., & Wiliam, D. (1998). Assessment and classroom learning. Assessment in Education, 5, 7–74.

Clarke, D. (1995). Constructive assessment: Mathematics and the student. In A. Richardson (Ed.), Flair: AAMT Proceedings. Adelaide: AAMT.

Dufour, R. (2004). what is a Professional Learning Community? : http://ascd.org. Access on 25 June 2016.

Gipps, C. (1994). Beyond testing: Towards a theory of educational assessment. London: The Falmer Press.

Hord, S.M. (1997). Professional learning Communities; Communities of inquiry and improvement. Austin, Texas: Southwest Education Development Laboratory.

Louis, K.S., Kruse, S. & Bryk, A.S. (1995). Professionalism and community: What is it and why is it important in urban school? In K.S. Louis, S. Kruse & Associates (1995). Professionalism and community: Perspectives and Reforming Urban School. Long Oaks, CA: Corwin.

Melanie S. Morrissey. (2000). Professional Learning Communities: An Ongoing Exploration. Texas: Southwest Educational Development Laboratory, (http://allthingsple.info/ Access on 25 June 2016.).

Newman, D.,Griffin, P., & Cole, M. (1989). The construction zone: Working for cognitive change in school. Cambridge: Cambridge University Press.

Perrenoud, P. (1998). From formative evaluation to a controlled regulation of learning processes. Towards a wider conceptual field. Assessment in Education, 5(1), 85–102.

Sadler, D. R. (1989). Formative assessment and the design of instructional systems. Instructional Science, 18(2), 119–144.

Woranetsudathip, N. and Yuenyong, C. (2015). Enhancing grade 1 Thai students’ learning about mathematical ideas on addition through lesson study and open approach. Mediterranean Journal of Social Sciences, 6(2S1), 28-33.

Yuenyong, C., Jones, A. and Yutakom, N. (2008). A Comparison of Thailand and New Zealand Students’ Ideas about Energy Related to Technological and Societal Issues. International Journal of Science and Mathematics Education. 6 (2): 293 – 311.

Yuenyong, C. and Thathong, K. (2015). Physics teachers’ constructing knowledge base for physics teaching regarding constructivism in Thai contexts. Mediterranean Journal of Social Sciences, 6(2), 546-553.