การพัฒนารูปแบบโค้ชสะท้อนคิดเพื่อพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น

Main Article Content

สุธาสินี แม้นญาติ

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบโค้ชสะท้อนคิดเพื่อพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครขอนแก่นมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับสภาพปัญหาและความต้องการใช้รูปแบบโค้ชสะท้อนคิดเพื่อพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการโค้ชสะท้อนคิดเพื่อพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการโค้ชสะท้อนคิดเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 4) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบโค้ชสะท้อนคิดเพื่อพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 5) เพื่อเผยแพร่รูปแบบโค้ชสะท้อนคิดเพื่อพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบโค้ชสะท้อนคิดเพื่อพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เท่ากับ 82.14/89.07 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้หลังการใช้รูปแบบโค้ชสะท้อนคิดเพื่อพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น ครูมีทักษะในการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ครูมีความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบโค้ชสะท้อนคิดเพื่อพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น ในระดับมากที่สุด นอกจากนี้ยังพบว่าประสิทธิภาพการเรียนรู้ของนักเรียน 4 ด้านประกอบด้วย ทักษะการคิดวิเคราะห์ ทักษะการคิดสร้างสรรค์ ทักษะการคิดรวบยอด และทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ตามเกณฑ์ 80/80 มีค่าเท่ากับ 81.19/87.06 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
Article

References

พัชรี สร้อยสกุล. (2559). การพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 สำหรับนักศึกษาอาชีวศึกษา เอกชนในเขตพัฒนาอุตสาหกรรมชายฝั่งทะเลตะวันออก. (ดุษฏีนิพนธ์ปรัชญาดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา. ชลบุรี.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2557). โรงเรียนผลิตภาพ : สัตตทัศน์เพื่อการจัดการ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2559). เอกสารประกอบการบรรยาย การศึกษาไทย 4.0 เป็นยิ่งกว่าการศึกษา. วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต. สืบค้นเมื่อ 7 เมษายน 2560, เข้าถึงได้จาก http://www.dpu.ac.th/ces/upload/content/files/2559.pdf.

ไพโรจน์ บุญลักษณ์ศิริ. (2549). ความพึงพอใจของนักศึกษาแพทย์กับการเรียนกลุ่มย่อยแบบใช้ปัญหาเป็นหลักร่วมกับการใช้ทักษะการแพทย์เชิงประจักษ์. สงขลานครินทร์เวชสาร 24(5), 389-393.

รัตนาภรณ์ วามะสุรีย์. (2550). การศึกษาการจัดการนิเทศภายในโรงเรียนของโรงเรียนเครือข่ายการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตตรวจราชการที่ 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศการศึกษาและพัฒนาหลักสูตร). คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.

วชิรา เครือคำอ้าย. (2552). การพัฒนารูปแบบการนิเทศนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเพื่อพัฒนาสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดของนักเรียนประถมศึกษา. ๖(วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. นครปฐม.

วิจารณ์ พานิช. (2554). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ตถาตาพลับลิเคชั่นจำกัด.

สมคิด บางโม. (2544). การบริหารการศึกษา พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: สถาบันราชภัฏพระนคร.

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2540). เกณฑ์มาตรฐานผู้บริหารสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

สุรเชษฐเวชชพิทักษ์. (2555). รากฐานแห่งชีวิต วัฒนธรรมชนบทกับการพัฒนา. กรุงเทพฯ: เจริญวิทย์การพิมพ์.

สุรพล ธรรมร่มดี, ศนีย์ จันอินทร์ และคงกฤช ไตรยวงค์. (2553). อาศรมศิลป์วิจัย: การวิจัยและพัมนาชุมชนแห่งการเรียนรู้แนวจิตตปัญญา. โครงการเอกสารวิชาการการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง ลำดับที่ 8. นครปฐม: เอมี่ เอ็นเตอร์ไพรส์จำกัด

เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. (2552). สภาพการจัดการศึกาในจังหวัดชายแดนใต้ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด วี.ที.ซี. คอมมิวนีเคชั่น.

อนงค์ศิริ วิชาลัย. (2554). แหล่งการเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น. เชียงใหม่: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

อัญชลี ธรรมะวิธีกุล. (2558). เทคนิคการนิเทศ : ระบบพี่เลี้ยงและการให้คำปรึกษาเป็นวิทยากร. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2558, เข้าถึงได้จาก https://panchalee.wordpress.com

อารมณ์ สนานภู่. (2539). ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับงานวิจัย. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

อำนวยรุ่งรัศมี. (2525). การสอนวิทยาศาสตร์แบบก้าวหน้า. มหาสารคาม : ภาควิชาชีววิทยาคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม

Fullan, M. (1999). Change Forces : The Sequel. London: Falmer Press.