การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาของโรงเรียนเทศบาลบ้านหนองแวงเพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของนักเรียน

Main Article Content

วาสนา แม้นญาติ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาของโรงเรียนเทศบาลบ้านหนองแวงเพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของนักเรียน โดยมีวัตถุประสงค์ย่อยดังนี้  1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบ 2) เพื่อออกแบบและพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษา 3) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการศึกษา และ 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจและปรับปรุงแก้ไขการพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ จำนวน 73 คน ได้แก่ ครู จำนวน 12 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 12 คน และนักเรียน 49 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม แบบประเมินความพึงพอใจ และการสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบ ค่าที (t-test) แบบ Dependent และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)  ผลการวิจัย มี 4 ประเด็น ดังนี้ 1. ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษา พบว่า โรงเรียนเทศบาลบ้านหนองแวงเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก ตั้งอยู่ในชุมชนแออัดริมทางรถไฟ สภาพภูมิสังคมของชุมชนผู้ปกครองส่วนใหญ่ให้ความสำคัญต่อการศึกษาน้อย สภาพครอบครัวแตกแยก มีอาชีพไม่แน่นอน ผลทำให้เด็กไม่ได้รับการพัฒนาด้านจิตใจหรือปัญญา  2. รูปแบบและวิธีการที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้ และตั้งชื่อว่า R2L Model 3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการศึกษา พบว่า ผลการทดลองมีคะแนนผลเฉลี่ยเกี่ยวกับความนอบน้อม ความพร้อมเรียนรู้ และด้านมีทักษะชีวิต เท่ากับ 4.32 ซึ่งจัดอยู่ในระดับมาก และผลการเปรียบเทียบการทดลองก่อน – หลังการพัฒนา มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  และ 4. ความพึงพอใจของครูและนักเรียนเฉลี่ยโดยรวม เท่ากับ 4.63 ซึ่งจัดอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
Academic Article

References

ฉวีวรรณ เคยพุดซา.(2557). แบบการจัดการเรียนรู้แบบ RAJASEE เพื่อส่งเสริมความสามารถ ในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย.โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย จ.นครราชสีมา.

ปรีชา แก้ววิเชียร.(2560).การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนในการยกระดับการศึกษาของโรงเรียนเทศบาล 1 บุรีราษฎร์ดรุณวิทยา. โรงเรียนเทศบาล 1 บุรีราษฎร์ดรุณวิทยา.

มาเรียม นิลพันธุ์.(2555). วิธีวิจัยทางการศึกษา Research Methodology in Education. พิมพ์ครั้งที่ 7.นครปฐม : ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

รติรัตน์ คล่องแคล่ว.(2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนในเขตภาคตะวันออก. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

วิจิตร ศรีสอ้าน.(2543).หลักและระบบบริหารการศึกษา.นนทบุรี. สำนักพิมพ์หาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช.

วิทยา ทองดี.(2544). พื้นฐานการศึกษา.ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.

สวงษ์ ไชยยา.(2560).การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาเชิงบูรณาการที่สอดคล้องกับวิถีชุมชนไทยใหญ่ในจังหวัดเชียงใหม่.ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาผู้นำทางการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.(2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.(2560). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12(พ.ศ. 2560-2579). กรุงเทพฯ: สำนักงาน.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.(2553). แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง(พ.ศ. 2552-2559):ฉบับสรุป. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

หฤทัย อรุณศิริ.(2551).การศึกษารูปแบบการจัดการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนเทศบาลในจังหวัดสิงห์บุรี. ปริญญาการศึกษาหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อัมพร พินะสา.(2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาโดยใช้ท้องถิ่นเป็นฐานของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร หลักสูตร การป้องกัน ราชอาณาจักร รุ่นที่ 60.

Good, c. V. (Ed.).(1973). Dictionary of education. 3rd ed. New York : McGraw -Hill.

Keeves, J.(1980). Organization Theory and Management Macro Approach. New York : John, n.d.

Smith, R.H. and other.(1980). Management : Making Organizations Perform. New York: Macmillan.

Steiner, E. EliZabeth.(1988). Educology. Sydney : NSW.

Willer, D. (1985). Scientific Sociology : Theory and Method. Englewood Cliff, N. J. : Prentice-Hill, 1985.