การพัฒนาครูให้มีสมรรถนะในการเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานนวัตกรรม ผ่านชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพ (PLC)

Main Article Content

ประเทืองสุข มณีล้ำ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาสมรรถนะครูด้านในการเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานนวัตกรรม และ 2) พัฒนาสมรรถนะครูในการเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานนวัตกรรมผ่านชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพ (PLC)  โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายมัธยมศึกษา (มอดินแดง)  วิธีดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ จำนวน 2 วงรอบ โดยแต่ละรอบ มี 4 ขั้น คือ 1. การวางแผน 2.การปฏิบัติการ 3. การสังเกตการณ์ 4. การสะท้อนผล  โดยทั้ง 4 ขั้นตอนดำเนินการผ่านการการประชุมเชิงปฏิบัติการ และการนิเทศภายใน  กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูผู้สอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวน 9 คน  ที่อาสาสมัครเข้าร่วมโครงการ  เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบทดสอบ แบบสังเกต แบบประเมินและ แบบนิเทศ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยรายงานประเด็นสำคัญเกี่ยวกับ 1)  ปัญหาในการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้โครงงานนวัตกรรมเป็นฐาน เนื่องจากครูขาดความเข้าใจและทักษะในการเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานนวัตกรรม  2) สรุปแนวทางการพัฒนาสมรรถนะของครูในการเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานนวัตกรรม ผ่านชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพ (PLC)  ในบริบทของการนิเทศติดตามแบบให้คำชี้แนะ 3) ผลการพัฒนาสมรรถนะครูในการเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานนวัตกรรม อยู่ในระดับมาก  

Article Details

บท
Article

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). การพัฒนาสมรรถนะของครูเพื่อให้ตอบสนองกับการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของกระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

จักรพันธ์ รัตนเพชร. (2558). ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 จังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

ฐานุตรา จัง. (มีนาคม – เมษายน, 2556). ครูที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์นั้นสำคัญอย่างไร. วารสาร สสวท. 14(181):43.

ดุษฎี โยเหลา และคณะ. (2557). การจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน (Project Based Learning) ตอนที่ 2. สืบค้นเมื่อ

เมษายน 2562, จาก https://candmbsri.wordpress.com/2015/04/08

นฤมล ยุตาคม และพรทิพย์ ไชยโส. (2550). การพัฒนาครูวิทยาศาสตร์ประจำการเพื่อการจัดการ เรียนการสอนตามแนวปฏิรูปการเรียนรู้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542. สถาบันการส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

ปิยะชัย จันทรวงศ์ไพศาล. (2549). การค้นหาและการเจาะลึก Competency ภาคปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: เอช อาร์ เซ็นเตอร

ทิพวรรณ เดชสงค์. (2561). การพัฒนาชุดฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างบทบาทการเป็นครูที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์สำหรับนิสิตนักศึกษาครูวิทยาศาสตร์. ปริญญานิพนธ์นี ้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและการจัดการการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ลัดดา ภู่เกียรติ. (2552). การสอนแบบโครงงานและการสอนแบบวิจัยเป็นฐาน : งานที่ครูประถมทำได้. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วิชา พรหมโชติและคณะ. (2561). การพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียน สังกัดเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี. วารสารรัชตภาคย์. 15 (41)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2545). มาตรฐานครูวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี. กรุงเทพฯ โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว

สุพรรณี ชาญประเสริฐ. (2558). การออกแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนว สะเต็มศึกษากับการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21. นิตยสาร สสวท. 43(192): 14.

สุภาพรรณ ธะยะธง. (2562 ). การศึกษาสมรรถนะของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาการศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา.

บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยพะเยา

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2551). ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพการศึกษาระเบียบวาระ แห่งชาติ (พ.ศ. 2551 – 2552). กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิ

อภิสิทธิ์ ธงไชย. (2554). โครงงานเทคโนโลยีคืออะไร. นิตยสาร สสวท. 39(172): 18.

DuFour, R. (2004). What is a professional learning community. Educational Leadership, 61(8): 6 - 11.

Kemmis, S., & McTaggart, R. (1998). The Action Research Planner (3rd ed.). Victoria: Deakin University.

Sutaphan, S. Yuenyong, C. (2019). STEM Education Teaching approach: Inquiry from the Context Based. Journal of Physics: Conference Series, 1340 (1), 012003