การพัฒนาการเรียนรู้มโนมติและตัวแทนความคิดวิทยาศาสตร์ เรื่อง การแยกสาร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อทำความเข้าใจการพัฒนาความเข้าใจมโนมติและ ตัวแทนความคิด เรื่อง การแยกสารและการนำไปใช้ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โรงเรียนพระธาตุขามแก่นพิทยาลัย ปีการศึกษา 2562 การศึกษาในครั้งนี้ผู้ศึกษามีบทบาทเป็น Model teacher ข้อมูลที่ได้จากการเปิดชั้นเรียนในวง PLC รายวิชา วิทยาศาสตร์ เรื่อง การแยกสารและการนำไปใช้ ด้วยกระบวนการ High Impact Practices (HIP) จำนวน 5 วงรอบ ใช้เวลา 5 สัปดาห์ เครื่องมือ ที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย ใบกิจกรรม Flowchart และ แบบฝึกหัดท้ายกิจกรรม เรื่อง การแยกสารและการนำไปใช้ ตามแนว HIP โดยใช้ร่วมกับใบสรุปองค์ความรู้ Frayer Model ผลการวิจัยพบว่า หลังเรียนนักเรียนมีคำอธิบายใน Frayer model ที่แสดงถึงความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง การแยกสารและการนำไปใช้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
โชคชัย ยืนยง (2561) ยุทธวิธีการจัดการเรียนรู้มโนมติฟิสิกส์. ขอนแก่น: โรงพิมพ์ขอนแก่นการพิมพ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2546). การจัดสาระการเรียนรู้ กลุ่มวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
Ainsworth, S. (1999). The Functions of Multiple Representations. Computers & education, 33, 131-152. https://doi.org/10.1016/S0360-1315(99)00029-9
Chanserm, T, Tupsai, J. and Yuenyong, C. (2019). Grade 11 student’s mental model of the Nature of Light. Journal of Physics: Conference Series, 1340 (1), 012086
Kuh, G.D. (2008). High-impact educational practices: What they are, who has access to them, and why they matter. Association of American Colleges & Universities.
Meela, P., and Yuenyong, C., (2019). The study of grade 7 mental model about properties of gas in science learning through model based inquiry (MBI). AIP Conference Proceedings. 2081, 030028-1–030028-6. (View online: https://doi.org/10.1063/1.5094026)
Nongkhunsarn, A., Yuenyong, C., Tupsai, J., and Sranamkam, T. (2019). Grade 11 Student’s Mental Model of Fluid and Analytical Thinking in Science Teaching Through Science Technology and Society (STS) Approach. Journal of Physics: Conference Series, 1340 (1), 012043
Tupsai, J., Yuenyong, C., Taylor, P.C. (2015). Initial implementation of constructivist physics teaching in Thailand: A case of bass pre-service teacher. Mediterranean Journal of Social Sciences, 6(2), 506-513.
Sarawan, S. and Yuenyong, C. (2018). Thai students’ mental model of chemical bonding. AIP Conference Proceedings. 1923, 030042-1 – 030042-7
Udomkan, W., Suwannoi, P., Chanpeng, P., Yuenyong, C. (2015). Thai Pre-service Chemistry Teachers’ Constructivist Teaching Performances. Mediterranean Journal of Social Sciences, 6(4 S3), 223-232.
Yuenyong, C. and Thathong, K. (2015). Physics teachers’ constructing knowledge base for physics teaching regarding constructivism in Thai contexts. Mediterranean Journal of Social Sciences, 6(2), 546-553.