การศึกษาผลการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ของ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง จำนวนนับที่มากกว่า 100,000 โดยใช้วิธีการเปิด (Open Approach) จากหนังสือแบบเรียนญี่ปุ่น ในบริบทนวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study)
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อทำความเข้าใจแนวคิดและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์เรื่อง จำนวนที่มากกว่า 100,000 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้สถานการณ์ปัญหาปลายเปิด จากหนังสือแบบเรียนญี่ปุ่น ของแผนการจัดการเรียนรู้ที่ได้พัฒนาผ่านการศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study) จำนวน 10 แผน กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 การศึกษา 2561 จำนวน 71 คน เครื่องมือที่ใช้ตีความ ได้แก่ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผลงานของนักเรียน และ แบบบันทึกการสังเกตชั้นเรียน การวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย การหาร้อยละ และค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การวิเคราะห์เนื้อหา จากผลงานนักเรียนและแบบบันทึกการสังเกต เพื่อจัดกลุ่มประเด็นและบรรยายตัวแทนความคิดและการเชื่อมโยงของแนวคิดทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียน ผลการวิจัย ได้อธิบายความคิดและการเชื่อมโยงของแนวคิดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน เรื่อง เขียนและอ่านตัวเลขที่มากกว่าหลักสิบล้าน จำนวนนับกับศูนย์ ค่าประจำหลักและค่าของเลขโดด การเปรียบเทียบและเรียงลำดับจำนวน การใช้เครื่องคิดเลข วิธีการประมาณ ค่าประมาณของจำนวนนับ และ การปัดเศษ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์. (2553). เรียนคณิตศาสตร์กับเพื่อน ๆ คณิตศาสตร์ สำหรับระดับชั้นประถมศึกษา ป.4 เล่ม 1. ขอนแก่น : โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา
ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์. (2555). การใช้วิธีการพัฒนากระบวนการคิดของนักเรียนแบบ Open Approach เพื่อส่งเสริมการพัฒนาวิชาชีพครูคณิตศาสตร์แบบ Lesson Study Approach. ขอนแก่น : ขอนแก่นการพิมพ์.
ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์, เอื้อจิตร พัฒนจักร, สัมพันธ์ ถิ่นเวียงทอง, วิภาพร สุทธิอัมพร, นฤมล ช่างศรี และสมควร สีชมภู. (2556). เอกสารประกอบการสอนรายวิชา 231491 สัมมนาทางคณิตศาสตรศึกษา (Seminar in Mathematics Education). ขอนแก่น : สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวทิยาลัยขอนแก่น. (เอกสารอัดสำเนา).
Chotikarn, N., Kanhapong, A., Tupsai, J. and Yuenyong, C. (2021). Enhancing Grade 11 students’ representation and connection in permutation and combination for their problem solving. Journal of Physics: Conference Series 1835 (1), 012023
Kim, V., Douch, M., Thy, S., Yuenyong, C. and Thinwiangthong, S. (2019). Challenges of implementing Lesson Study in Cambodia: Mathematics and Science Teaching by using Lesson Study at Happy Chandara School. Journal of Physics: Conference Series, 1340 (1), 012071
Maneelam, P. (2022). Science Teacher Professional Development Program through Lesson Study: Case of Thailand Demonstration School. Asia Research Network Journal of Education, 2(1), 48–60.
Nohda, N. (2000). Teaching by open-approach method in Japanese mathematics classroom. Proceeding of the 24th conference of the International Group for the Psychology of Mathematics Education, Hiroshima, Japan, July 23-27, volume 1-39-53.
National Council of Teachers of Mathematics (NCTM) (2000). Principles and Standards for School Mathematics. Reston, Va.: NCTM
Nielson, M.E., and Bostic, J.D. (2018). Connecting and Using Multiple Representations. Mathematics Teaching in the Middle School. 23 (7): 386 – 393. DOI: https://doi.org/10.5951/mathteacmiddscho.23.7.0386
Phaikhumnam, W. and Yuenyong, C. (2018). Improving the primary school science learning unit about force and motion through lesson study. AIP Conference Proceedings. 1923, 030037-1 – 030037-5.
Woranetsudathip, N. (2021). Examine First Grade Students’ Strategies of Solving Open-ended Problems on Addition. Asia Research Network Journal of Education 1 (1), 15-24
Woranetsudathip, N, Yuenyong, C, and Nguyen, TT (2021). The innovative lesson study for enhancing students’ mathematical ideas about addition and subtraction through open approach. Journal of Physics: Conference Series 1835 (1), 012061
Woranetsudathip, N. and Yuenyong, C. (2015). Enhancing grade 1 Thai students’ learning about mathematical ideas on addition through lesson study and open approach. Mediterranean Journal of Social Sciences, 6(2S1), 28-33.