การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยการสร้างสรรค์เป็นฐานสู่ชุมชน (CBL plus) เพื่อเสริมสร้างทักษะความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

พงศธร สิ่งสำราญ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยการสร้างสรรค์เป็นฐานสู่ชุมชน (CBL plus) เพื่อเสริมสร้างทักษะความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 วิธีการดำเนินการวิจัย คือ การวิจัยและพัฒนา (Research & Development) แบ่งขั้นตอนการดำเนินการเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และแนวทางการพัฒนา (Analysis: R1)  ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ (Design and Development : D1)  ระยะที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ (Implementation : R2) และ ระยะที่ 4 การประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้ (Evaluation : D2)  ผลวิจัยรายงานผลตามระยะวิจัย 4 ระยะ 1) สภาพปัจจุบัน ปัญหา และแนวทาง การจัดการเรียนรู้ด้วยการสร้างสรรค์เป็นฐานสู่ชุมชน (CBL) เพื่อเสริมสร้างทักษะความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม พบว่า มีวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ด้วยการสร้างสรรค์เป็นฐานสู่ชุมชน (CBL) มีพื้นฐานจากการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน (PBL: Problem -based learning) และครูรับรู้ว่า การจัดการเรียนรู้ด้วยการสร้างสรรค์เป็นฐานสู่ชุมชน (CBL plus) ยังเป็นเรื่องใหม่ยังไม่ชัดเจนเรื่องหลักการ ขั้นตอนและการนำสู่การปฏิบัติ 2) ผลการสังเคราะห์รูปแบบการจัดการเรียนรู้ได้กระบวนการของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยการสร้างสรรค์เป็นฐานสู่ชุมชน (CBL plus) พบว่า มี 6 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 กระตุ้นความสนใจ ขั้นตอนที่ 2 ตั้งปัญหาและแบ่งกลุ่ม ขั้นตอนที่ 3 ค้นคว้าและคิดผ่าน PLC ขั้นตอนที่ 4 นำเสนอ ขั้นตอนที่ 5 ประเมินผล และ ขั้นตอนที่ 6 การบริการสังคมและจิตสาธารณะ 3) การทดลองใช้รูปแบบ พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยการสร้างสรรค์เป็นฐานสู่ชุมชน (CBL plus) เพื่อเสริมสร้างทักษะความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการประเมินทักษะความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ทุกด้านได้แก่ การคิดสร้างสรรค์ (Think Creativity)การทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างสร้างสรรค์ (Work Creativity with Others)และ การนำเอานวัตกรรมมาสู่การปฏิบัติ (Implement Innovations)  โดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด 4) การประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยการสร้างสรรค์เป็นฐานสู่ชุมชน (CBL plus) เพื่อเสริมสร้างทักษะความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม พบว่า ความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยรูปแบบ CBL plus ในประเด็นต่างๆ อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
Article

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

โชคชัย ยืนยง (2561) ยุทธวิธีการจัดการเรียนรู้มโนมติฟิสิกส์. ขอนแก่น: โรงพิมพ์ขอนแก่นการพิมพ์

ดุษฎี โยเหลา และคณะ. (2557). การศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบ PBL ที่ได้จากโครงการสร้างชุดความรู้เพื่อสร้างเสริมทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของเด็กและเยาวชน : จากประสบการณ์ ความสำเร็จของโรงเรียนไทย. กรุงเทพฯ : หจก. ทิพยวิสุทธิ์.

นภาพรรณ ไพรพะยอม (2564). การจัดการเรียนการสอนชีววิทยาในศตวรรษที่ 21. วารสารชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพครู ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 หน้า 75 - 95

ประสาท เนืองเฉลิม. (2558). การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ล้วน สายยศ และ อังคณา สายยศ. (2538). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์. (2558). การสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน Creativity-based Learning (CBL) วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้ ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม–ธันวาคม 2558. สถาบันพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 และค้นหาศักยภาพที่แท้จริงของผู้เรียนส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาอย่างมีเป้าหมายและมีทักษะที่จำเป็นต่ออนาคตด้วยระบบการเรียนการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (Creativity-based Learning). กรุงเทพฯ.

Sohsomboon, P. & Yuenyong, C. (2022). Examine in-service teachers’ initial perceptions toward STEM education in Thailand. Asia Pacific Journal of Educators and Education, 37 (2), 325–352. https://doi.org/10.21315/ apjee2022.37.2.16

Suparee, M., and Yuenyong, C. (2021). Enhancing Grade 11 Students’ Learning and Innovation Skills in the STS Electric Unit. Asia Research Network Journal of Education, 1 (2), 96-113

Sutaphan, S andYuenyong, C (2021). Examine pre-service science teachers’ existing ideas about STEM education in school setting. Journal of Physics: Conference Series 1835 (1), 012002

Thinwiangthong, P., Termtachatipongsa, P, and Yuenyong, C. (2021). Status quo and needs of STEM Education curriculum to enhance creative problem solving competency. Journal of Physics: Conference Series 1835 (1), 012089

Tupsai, J., Yuenyong, C., Taylor, P.C. (2015). Initial implementation of constructivist physics teaching in Thailand: A case of bass pre-service teacher. Mediterranean Journal of Social Sciences, 6(2), 506-513.

Wongsila, S. and Yuenyong, C. (2019). Enhancing Grade 12 Students’ Critical Thinking and Problem-Solving Ability in Learning of the STS Genetics and DNA Technology Unit. Journal for the Education of Gifted Young Scientists, 7(2), 215-235.

Yuenyong, C. (2019). Lesson learned of building up community of practice for STEM education in Thailand. AIP Conference Proceedings. 2081, 020002-1 – 020002-6. (View online: https://doi.org/10.1063/1.5093997)

Yuenyong, C. and Thathong, K. (2015). Physics teachers’ constructing knowledge base for physics teaching regarding constructivism in Thai contexts. Mediterranean Journal of Social Sciences, 6(2), 546-553.