การพัฒนาครูปฐมวัยด้านการจัดประสบการณ์เรียนรู้เพื่อส่งเสริมการพัฒนาทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ (Executive Function : EF) ของเด็กปฐมวัยในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาครูให้มีความรู้ ความเข้าใจการจัดประสบการณ์เรียนรู้เพื่อส่งเสริมการพัฒนาทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ (Executive Function : EF) ของเด็กปฐมวัย กลุ่มเป้าหมาย คือครูผู้สอนระดับปฐมวัย โรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ปีการศึกษา 2565 จำนวน 33 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการพัฒนาทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ แบบประเมินความสามารถในการออกแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการพัฒนาทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ความรู้ความเข้าใจของกลุ่มเป้าหมายเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการพัฒนาครูปฐมวัยด้านการจัดประสบการณ์เรียนรู้เพื่อส่งเสริมการพัฒนาทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ หลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 ความสามารถในการออกแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการพัฒนาครูปฐมวัยด้านการจัดประสบการณ์เรียนรู้เพื่อส่งเสริมการพัฒนาทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ อยู่ในระดับดี
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด
กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2558). การสอนแบบจิตปัญญา แนวการใช้ในการสร้างแผนการสอนระดับอนุบาลศึกษา. กรุงเทพฯ : เอดิสัน เพรสโปรดักส์.
คันธรส ภาผล. (2563). รายงานการวิจัย เรื่อง ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชานิทานและหุ่นสำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT ของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย. ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี.
ดวงฤทัย เสมคุ้มหอม, อาภาวรรณ หนูคง, สมสิริ รุ่งอมรรัตน์, และนวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการคิดเชิงบริหารของเด็กก่อนวัยเรียน, วารสารสภาการพยาบาล, 34(4), 80-94
ธนัตถ์ จันทวาท. (2559). ผลของการใช้การฝึกอบรมแบบบูรณาการที่มีต่อความรู้ความเข้าใจ ในการจัดการเรียนรู้ที่ใช้สมองเป็นพื้นฐานของครูในโรงเรียนระดับประถมศึกษาที่เข้าร่วม โครงการโรงเรียนแกนนําจัดการเรียนร่วม จังหวัดนครราชสีมา. สารนิพนธ์ กศ.ม. (จิตวิทยาการศึกษา). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร.
นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล. (2559) การพัฒนาและหาค่าเกณฑ์มาตรฐานเครื่องมือประเมินการคิดเชิงบริหารในเด็กปฐมวัย. มหาวิทยาลัยมหิดล :กรุงเทพ
บุญชม ศรีสะอาด, (2560). การวิจัยเบื้องต้น.กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์. (2561). พัฒนา EF ตั้งแต่เด็กปฐมวัย รากฐานของการพัฒนาประเทศในยุค Thailand 4.0. Hot topics (ม.ป.ป.) : 12 – 14
วิชาญ พันธุ์ประเสริฐ. (2561). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูวิทยาศาสตร์เพื่อออกแบบ บทปฏิบัติการที่สอดแทรกภูมิปัญญาท้องถิ่น. ปริญญานิพนธ์ กศ.ด. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.
วันวิสา ม่วงทอง,วารีรัตน์ แก้วอุไร, อังคณา อ่อนธานี, และจักรกฤษณ์ จันทะคุณ (2563). ทักษะการคิดเพื่อชีวิตที่สำเร็จเพื่อส่งเสริมการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัย: สิ่งที่ไม่ควรมองข้ามสาหรับครู, วารสารราชฤกษ์, 18(1), 20-28.
ศักรินทร์ ชนประชา. (2557). ทฤษฎีการเรียนรู้ผู้ใหญ่ : สิ่งที่ครูสอนผู้ใหญ่ต้องเรียนรู้. วารสาร ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 25 (2) : 13-23.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบัน RLG (รักลูก เลิร์นนิ่ง กรุ๊ป). (2561). คู่มือพัฒนาทักษะสมอง EF Executive Functions ในเด็กวัย 13-18 ปี สำหรับพ่อแม่และครู. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ไอดี ออล ดิจิตอล พริ้นท์ จำกัด
สันต์ ศูนย์กลาง. (2551). หลักสูตรฝึกอบรมการพัฒนามาตรฐานการศึกษาด้านผู้เรียน ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. ปริญญานิพนธ์ กศ.ด. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ.
สมชาย สังข์สี. (2550). หลักสูตรฝึกอบรมการพัฒนามาตรฐานการศึกษาด้านผู้เรียน ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. ปริญญานิพนธ์ กศ.ด. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ.
สมชาติ กิจยรรยง. (2558). สูตรสําเร็จการจัดฝึกอบรม (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : มัลติอินฟอร์เมชั่นเทคโนโลยี.
สุพัตรา ตาลดี. (2558). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูเพื่อออกแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการพัฒนาสมองของผู้เรียนระดับการศึกษาปฐมวัย ของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาหลักสูตรและการสอน) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุนิษา ภารตระศรี. (2564). การจัดประสบการณ์เรียนรู้โดยใช้นิทานเพื่อพัฒนาทักษะสมอง (EF) ของเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุภาวดี หาญเมธี. (2561). คู่มือพัฒนาทักษะสมอง EF Executive Functions สำหรับครูปฐมวัย . กรุงเทพฯ : มติชน
Bianchini & Solomon. (2002). Exploring further education and training:“who is the further education and training adult learner”? (Doctoral dissertation). Ireland: Dublin City University.
Greenberg, M. T. (2006). Promoting resilience in children and youth: Preventive interventions and their interface with neuroscience. Annals of the New York Academy of Sciences, 1094 (1), 139-150.
Hanmethi, S. (2016). Phattanathaksa samong EF duai kan an [Develop Executive Funtions by reading]. Bangkok: Ideol Digital Print.
Luft Roehrig; & Patterson. (2003). Techniques For Evaluating, Training Program. Evaluating Training Program. San Francisco: American Society for Training and Development.