รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ที่เสริมสร้างสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ ที่ส่งเสริมความสามารถในการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียน โรงเรียนนารายณ์คำผงวิทยา

Main Article Content

ศักดิ์อนันต์ อนันตสุข

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบ เพื่อสร้าง เพื่อศึกษาผลการใช้ และเพื่อประเมินรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ที่เสริมสร้างสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ ที่ส่งเสริมความสามารถในการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียน โรงเรียนนารายณ์คำผงวิทยา โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยการวิจัยและพัฒนา ที่ดำเนินการ 4 ขั้นตอน ดังนี้ (1) ศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบ โดยศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 คน (2) สร้างรูปแบบ ยกร่างรูปแบบและจัดทำคู่มือการใช้รูปแบบ ตรวจสอบรูปแบบจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน (3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบ โดยนำไปใช้จริงในปีการศึกษา 2564 กับครู จำนวน 30 คน (4) ประเมินรูปแบบโดยครู จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ แบบตรวจสอบ แบบประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลสถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์เนื้อหาและสรุปข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า (1) องค์ประกอบของชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูมี 5 องค์ประกอบได้แก่ 1) การวิเคราะห์สภาพจริง และวิธีการพัฒนาวิชาชีพ 2) การสร้างความตระหนัก แรงบันดาลใจ องค์ความรู้และความสามารถของครูในการจัดการเรียนรู้ 3) การเสริมสร้างพลังในการจัดการเรียนรู้ 4) ผลลัพธ์ของการจัดการเรียนรู้ และ 5) การเผยแพร่แนวปฏิบัติที่ดีสู่ชุมชนแห่งการเรียนรู้ (2) รูปแบบมี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการของชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ การวัดและประเมินผล และเงื่อนไขความสำเร็จ โดยรวมรูปแบบมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (3) ผลการใช้รูปแบบ พบว่า ครูมีสมรรถนะด้านการออกแบบหน่วยการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ครูมีสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ครูมีสมรรถนะด้านการวิจัยในชั้นเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก และความสามารถในการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก และ (4) รูปแบบมีความถูกต้องครอบคลุม ความเป็นประโยชน์ ความเหมาะสม และความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมากที่สุด


คำสำคัญ: รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ, การเรียนรู้แบบผสมผสาน, การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง

Article Details

บท
Article

References

ชูชาติ พ่วงสมจิตร์. (2560). ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ และแนวทางการนำมาใช้ในสถานศึกษา.วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ, 10(1): 34-41.

บุญเลี้ยง ทุมทอง. (2559). ทฤษฎีและการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ :ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น.

ปณิตา วรรณพิรุณ. (2551). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนบนเว็บแบบผสมผสานโดยใช้ปัญหาเป็นหลักเพื่อพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนิสิตปริญญาบัณฑิต. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประภาภรณ์ คำโอภาส. (2560). รูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในเขตภาคเหนือตอนบน. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ปรณัฐ กิจรุ่งเรือง และอรพิณ ศิริสัมพันธ์. (2561). ชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพครู: กลยุทธ์การยกระดับคุณภาพการศึกษา: แนวคิดสู่การปฏิบัติ. นนทบุรี: M & N Design.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2561). การเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลังกับ PLC เพื่อการพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: ตถาตาพลับลิเคชั่น จำกัด.

วิจารณ์ พานิช. (2556). สนุกกับการเรียนในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

สฤษดิ์ วิวาสุขุ. (2562). รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโรงเรียนจอมพระประชาสรรค์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33. วารสารสังคมศาสตร์และมานษยวิทยาเชิงพุทธ. 7(2). 36-54.

สิทธิชัย ชมพูพาทย์. (2554). การพัฒนาพฤติกรรมการเรียนการสอนเพื่อการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของครูและนักเรียนในโรงเรียนส่งเสริมนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์โดยใช้การวิจัยปฏิบัติการเชิงวิพากษ์. ดุษฎีนิพนธ์วิทยาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). การประเมินตนเองและจัดทำแผนพัฒนาตนเองรายบุคคล (Individual Development Plan : ID PLAN). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ 2564. ม.ป.ท.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). แนวทางการจัดการเรียนการสอน ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564. สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2555). รายงานการวิจัยเรื่องนโยบายและยุทธศาสตร์ การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของประเทศสมาชิกองค์กรระดับนานาชาติ. กรุงเทพฯ : สกศ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : พิมพลักษณ์.

Anantasook, R., Anantasook, S., and Yuenyong C. (2019). Developing the Astronomy and Architecture Unit for Providing Students’ Perception of the Relationship between Science, Technology, Engineering, and Mathematics. Journal of Physics: Conference Series, 1340 (1), 012010

Brandon, K. T. (2016). A Methodological Analysis of Research into the Effect of Professional Learning Community on Student Academic Achievement. Theses and Dissertations. 6442. Retrieved from https://scholarsarchive.byu.edu/etd/6442.

Charalambous, Y. C., & Pitta-Pantazi, D. (2016). Perspectives on Priority Mathematics Education: Unpacking and Understanding a Complex Relationship Linking Teacher Knowledge, Teaching, and Learning. In: L. D. English & D. Kirshner (Eds.). Handbook of international research in mathematics education, 19-59.

David, M. (2013). Effectiveness of active learning in the arts and sciences Department of Mathematics, and Department of Legal Studies. Rhode Island: Johnson & Wales University.

Dufour, R. (2011). Work together: But only if you want to. Phi Delta Kappan, 95(5); 57-61.

Hallam, P. R., Smith, H. R., Hite, J. M., Hite, S. J., & Wilcox, B. R. (2015). Trust and collaboration in PLC teams: Teacher relationships, principal support, and collaborative benefits. NASSP Bulletin, 99(3); 193-216.

Hargis, J. (2005). Collaboration, Community and Project-Based Learning - Does It Still Work Online?. Instructional Media, 32(2).

The Secretariat of the Council of Education. (2010). Policy proposals for teacher and educational personnel development. Bangkok: The Secretariat of the Council of Education.

Thorne, K. (2003). Blended learning: how to integrate online & traditional learning. London: Kogan Page.