การเรียนรู้แบบผสมผสานในวิถีชีวิตใหม่ของเด็กปฐมวัย

Main Article Content

ศิริธร สุตตานนท์

บทคัดย่อ

การเรียนรู้แบบผสมผสาน (Blended Learning) เป็นอีกหนึ่งรูปแบบการศึกษาที่ได้รับความนิยมในสถานการณ์ปัจจุบันที่เทคโนโลยีเริ่มเข้ามามีบทบาทในฐานะเป็นสื่อกลางในการส่งต่อข้อมูล ความรู้ ทักษะไปยังผู้เรียนได้อย่างไม่จำกัด อีกทั้งด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ที่ยังคงทวีความรุนแรงจนทำให้สังคมเกิดวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) ที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตเดิมในสังคมให้เปลี่ยนแปลงไปในรูปแบบอื่น จนทำให้วงการการศึกษาต้องมีการปรับตัวไปสู่การจัดการเรียนรู้ที่ผสมผสาน โดยนำรูปแบบการเรียนแบบเผชิญหน้า (Face-to-Face Learning) ผสานกับการเรียนการสอนแบบออนไลน์ (Online Learning) การจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา  จากวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง พบว่า การเรียนรู้แบบผสมผสานส่วนใหญ่จะพบในผู้เรียนในระดับสูง สามารถดูแลตัวเองและมีความรับผิดชอบในการเรียนออนไลน์ด้วยตนเอง และผู้เรียนที่จัดการศึกษาในรูปแบบนี้ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจและเกิดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังเป็นเรื่องท้าทายที่จะจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานในเด็กปฐมวัย เนื่องจากผู้เรียนยังไม่สามารถควบคุมการเรียนรู้ของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพมากนัก ดังนั้น การจัดกิจกรรมและประสบการณ์การเรียนรู้แบบผสมผสาน (Blended Learning) สำหรับเด็กปฐมวัย สามารถจัดได้ในรูปแบบของการบูรณาการผ่านการเล่นและการทำกิจกรรมที่เหมาะสมตามวัย เนื่องจาก ช่วงปฐมวัยเป็นช่วงโอกาสที่สำคัญในการพัฒนาทักษะสมอง หรือ EF (Executive Function)

Article Details

บท
Academic Article

References

Bersin, J. 2004. The blended learning book: Best practices, proven methodologies, and lessons learned. San Francisco, Calif: Pfeiffer.

Carman, Jared M. 2005. Blended Learning Design: Five Key Ingredients. Accessed August 7. Available from http://www.agilantlelearning.com/pdf/Blended%20Learning%20Design.pdf

Driscoll, Magaret. 2002. Blended Learning : Let’s get beyond the hype. Accesses October 25. Available from https://www-07.ibm.com/services/pdf/blended_learning.pdf

Graham, Charles R. 2006. The Handbook of blended learning: Blended learning systems. San Francisco, Calif: Pfeiffer.

Smith, Judith. 2001. Blended Learning : An old Friend Gets a New Name. Accessed July 17. Available from http://www.gwsae.org/excutiveupfate/2001/march/blended.html

จินตวีร์ คล้ายสังข์ และประกอบ กรณีกิจ. 2552. “Pedagogy-based Hybrid Learning: จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ.” วารสารครุศาสตร์ 1 (กรกฎาคม-ตุลาคม): 93-108.

จินตวีร์ คล้ายสังข์. 2563. สรุปบรรยายการอบรมเชิงวิชาการ เรื่อง การเรียนรู้แบบผสมผสาน (Blended Learning). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.

ดิเรก อัคฮาต. 2563. “การใช้เทคโนโลยีเสมือนจริงสำหรับการจัดการเรียนการสอนในยุค Thailand 4.0.” วารสารครุศาสตร์สาร 14 (1): 239-252.

ทัศนีย์ ธราพร. 2563. “การเรียนรู้แบบผสมผสาน (Blended Learning) กับอนาคตการจัดการศึกษาสำหรับสังคมในแบบฐานวิถีชีวิตใหม่.” วารสารศิลปศาสตร์ 1 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2563): 25-39.

เนาวนิตย์ สงคราม. 2553. การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนบนเว็บแบบผสมผสานด้วยการเรียนรู้เป็นทีมและกระบวนการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์เพื่อสร้างนวัตกรรมของนิสิต นักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต โสตทัศนศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประทุม ฤกษ์กลาง. 2545. รายงานการวิจัย การสื่อสารภายในครอบครัวในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

แฝงกมล เพชรเกลี้ยง. 2563. “การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานในยุค New Normal เพื่อส่งเสริมสมรรถนะ การออกแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุกของนักศึกษาครู.” วารสารครุศาสตร์สาร 14 (2): 71-83.

ไพฑูรย์ กานต์ธัญลักษณ์. 2557. การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยการเรียนแก้ปัญหาร่วมกันและเทคนิคซินเนคติกส์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษาครู. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

มนต์ชัย เทียนทอง. 2549. “Blended Learning: การเรียนรู้แบบผสมผสานในยุค ICT (ตอนที่ 2).” วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม 1,2 (พฤษภาคม-ธันวาคม): 48-56.

ศศิพันธุ์ เปี๊ยนเปี่ยมสิน และคณะ. 2561. การศึกษาปฐมวัย. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์บริการสื่อและสิ่งพิมพ์กราฟฟิคไซท์.

สมพร เทพสิทธา. 2538. ครอบครัวไทยในยุคโลกาภิวัฒน์. กรุงเทพมหานคร: สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย.

สายชล จินโจ. 2550. การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานรายวิชาการเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ 1 สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

สุวิมล มธุรส. 2564. “การจัดการศึกษาในระบบออนไลน์ในยุค NEW NORMAL COVID-19.” วารสารรัชต์ภาคย์ 15 (40): 33-42.

หริลักษณ์ บานชื่น. 2549. การนำเสนอรูปแบบการเรียนคณิตศาสตร์แบบผสมผสานด้วยการเรียนแบบใช้ปัญหาเป็นหลัก สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อนรรฆ สาสุข. 2556. รายงานการวิจัย เรื่อง การศึกษาผลสัมฤทธิ์ของการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน (Blended Learning) เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมในชั้นเรียนและเปลี่ยนแปลงเจตคติของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในรายวิชา ง 31101 เทคโนโลยีสารสนเทศ. คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

อัญชลี ศรีรุ่งเรือง. 2558. ผลการเรียนแบบผสมผสานด้วยการเรียนแบบร่วมมือ วิชาคอมพิวเตอร์ ที่มีต่อความรู้พื้นฐานด้านสื่อและการทำงานร่วมกับผู้อื่น ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา, มหาวิทยาลัยศิลปากร.