การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้แบบ 7 ขั้น เพื่อพัฒนาส่งเสริมสมรรถนะการคิดขั้นสูงด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาชีววิทยา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

สุธาสินี วรรณภาส

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ รายงานการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ด้วยการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ(competency-based instruction) ร่วมกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ7ขั้น (7E) เรื่อง ระบบสืบพันธุ์และการเจริญเติบโต เพื่อพัฒนาส่งเสริมสมรรถนะการคิดขั้นสูงด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาชีววิทยา หรือ เรียกย่อว่า นวัตกรรมการเรียนรู้ CT-HOT in Bio กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้  คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/8 โรงเรียนกัลยาณวัตร อำเภอเมือง  จังหวัดขอนแก่นที่กำลังเรียนใน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 43 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง  การรายงานผลการใช้นวัตกรรม มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอ 1) การพัฒนาส่งเสริมสมรรถนะการคิดขั้นสูงด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 2) การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ เรื่องระบบสืบพันธุ์และการเจริญเติบโต 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกระบวนการจัดการเรียนรู้ของนวัตกรรมการเรียนรู้  โดยนวัตกรรมการเรียนรู้ CT-HOT in Bio มีจำนวน 12 แผนการจัดการเรียนรู้ ใช้เวลาทั้งหมดจำนวน 19 ชั่วโมง ผลการประเมินโดยใช้ค่าIOC โดยผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่านพบว่า มีค่าเท่ากับ 0.88 มีค่าความเที่ยงตรงใช้ได้  เครื่องมือที่ใช้สะท้อนผลการใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ CT-HOT in Bio ได้แก่ แบบบันทึกหลังการสอนของครู แบบสังเกตพฤติกรรมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ  แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารญาณ  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยาเรื่องระบบสืบพันธุ์และการเจริญเติบโต  เครื่องมือประเมินความพึงพอใจการใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ CT-HOT in Bio ได้แก่ แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบมาตรส่วนประมาณค่า5 ระดับ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ สถิติเชิงพรรณนา ผลการพัฒนาพบว่า1)  ผลสัมฤทธิ์สมรรถนะการคิดขั้นสูงด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ  พบว่า ร้อยละ 100 ของนักเรียน  มีผลสัมฤทธิ์สมรรถนะการคิดขั้นสูงด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ วิชาชีววิทยา เรื่องระบบสืบพันธุ์และการเจริญเติบโต ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม 2)  ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  พบว่า ร้อยละ 100 ของนักเรียน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิชาชีววิทยาเรื่องระบบสืบพันธุ์และการเจริญเติบโต ผ่านเกณฑ์ความรอบรู้ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อกระบวนการจัดการเรียนรู้ของนวัตกรรมการเรียนรู้ CT-HOT in Bio ทั้ง 5 ด้านอยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ยเป็น 4.34 คิดเป็นร้อยละ 86.84 ของคะแนนเต็ม

Article Details

บท
Article

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา.

คงศักดิ์ ธาตุทองและคณะ (2542).รายงานการวิจัยเรื่องการฝึกทักษะการทำวิจัยในชั้นเรียนสำหรับนักศึกษาฝึกสอน. ขอนแก่น.ภาควิชาการมัธยมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์

ทิศนา แขมมณี.(2550). รูปแบบการเรียนการสอนทางเลือกที่หลากหลาย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. (2556), ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ(พิมพ์ครั้งที่ 17). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ยาใจ พงษ์บริบูรณ์. การวิจัยเชิงปฏิบัติการ.วารสารศึกษาศาสตร์, 17(2), 1-15. 2537.

พิชญเนตร เสวตโสธร.(2560).การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้7 ขั้นเพื่อพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ในรายวิชาชีววิทยา เรื่อง การสลายสารอาหารระดับเซลล์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

สิริพร ดีน้อย (2562).การพัฒนารูปแบบการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักเรียนประถมศึกษา.วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.(2564) โครงการการอบรมเชิงปฏิบัติการเพิ่มพูนสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21:กระทรวงศึกษาธิการ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.(2564) อบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนากิจกรรมบูรณาการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีปฐมวัย ตามแนวทางสะเต็มศึกษา หัวข้อการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน.2558

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา.เอกสารประกอบหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551(ฉบับปรับปรุง2560) แนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย 2551

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.(2563).การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเชิงรุก.กรุงเทพฯ

สุคนธ์ สินธพานนท์ และคณะ. (2551). การพัฒนาทักษะการคิด...พิชิตการสอน. กรุงเทพฯ:ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุนีรัตน์ เนียมสลุต. (2541 ) การจัดการเรียนการสอนโดยใช้หลักการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาความรู้ เจตคติและพฤติกรรม เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่6 วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาตร์ศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น

สุธินี มาตย์ภูธร และ สิทธิพล อาจอินทร์.(2565)การพัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (7Es)คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Hilgard, Ernest R. (1962). Introduction to Psychology. (3rd rd.) New York: Marcourt, Brace &World Inc.Hogan Personality Inventory. (2012). (Online). Available:

Eisenkraft, A. (2003). Expendingthe 5E Model: A Proposed 7E Model Emphasizes TransferringLearning and the Importance of Eliciting Prior Understanding. The Sciece Teacher,70

Ennis,R.H. Critical Thinking And Subject-Specificity:Clarification and needed Research..CA: Midwest Publication,1989