การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ เรื่อง โครงสร้างดีเอ็นเอ ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ เรื่อง โครงสร้าง ดีเอ็นเอ ของนักเรียนโดยมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา โดยสมมุติฐานของการวิจัย คือ ให้มีนักเรียนร้อยละ 70 ขึ้นไป มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/4 จำนวน 40 คน (แผนการเรียนสายศิลป์) ของโรงเรียนกัลยาณวัตร ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 ที่ได้รับการเลือกแบบเจาะจง (purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน แบบบันทึกการนิเทศ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ใบกิจกรรม การจัดการเรียนรู้ เรื่อง โครงสร้างดีเอ็นเอ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัย เป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ โดยพบว่า นักเรียนทั้งหมดมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ:กระทรงศึกษาธิการ.
พรทิพย์ ศิริภัทราชัย. (2556). STEM Education กับการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21. วารสารนักบริหารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2, 49-56.
มัณฑรา ธรรมบุศย์. (2551). การพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้โดยใช้ PBL (Project based Learning). วารสารวิชาการ, 5(2) กุมภาพันธ์, 11-17.
มนตรี จุฬาวัฒนทล. (2556). การศึกษาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมและ คณิตศาสตร์ หรือ “สะเต็ม”. สมาคมครูวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และ เทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. นิตยสารสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 41(180), 3 – 14.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2553). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552 – 2561). กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟิก จำกัด.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2557). สะเต็มศึกษากับการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. นิตยสารสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 42(186), 3-5.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาระภูมิศาสตร์ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. ค้นเมื่อ 23 ธันวาคม 2566, จาก opec.go.th/ckfinder/userfiles/files/general/123(2).pdf.
ศูนย์สะเต็มศึกษาแห่งชาติ. (2558). คู่มือเครือข่ายสะเต็มศึกษา. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี, กระทรวงศึกษาธิการ.
อาทิตยา พูนเรือง. (2559). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์เรื่อง เอนไซม์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา. ปริญญานิพนธ์ (กศ.ม.(ชีววิทยา)) – มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2559.
Sutaphan, S. Yuenyong, C. (2019). STEM Education Teaching approach: Inquiry from the Context Based. Journal of Physics: Conference Series, 1340 (1), 012003
Yuenyong, C. (2019). Lesson learned of building up community of practice for STEM education in Thailand. AIP Conference Proceedings. 2081, 020002-1 – 020002-6.