การศึกษาสมรรถนะการคิดเชิงคำนวณ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้การจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษาเรื่อง สมบัติการดูดซับน้ำของวัสดุ

Main Article Content

ศิริธร สุตตานนท์
โชคชัย ยืนยง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่เน้นกระบวนทัศน์เชิงตีความ (Interpretive Paradigm) เพื่อศึกษาสมรรถนะการคิดเชิงเชิงคำนวณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้การจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษาตามกระบวนการคิดเชิงออกแบบ เรื่อง สมบัติการดูดซับน้ำของวัสดุ ผู้วิจัยต้องคลุกคลีกับกลุ่มเป้าหมายโดยการเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม โดยลักษณะของการวิจัยเป็นการศึกษา วิเคราะห์อย่างเป็นองค์รวม มุ่งทำความใจความหมายและการอธิบาย ภายใต้แนวคิดที่ว่า ความจริงหรือความรู้ขึ้นอยู่กับบริบท สามารถประเมินผลได้จากตัวบ่งชี้คุณภาพ 4 ประการ คือ ความน่าเชื่อถือ (Credibility) การพึ่งพากับเกณฑ์อื่น (Dependability) การถ่ายโอนผลการวิจัย (Transferability) และการยืนยันผลการวิจัย (Confirmability) ในระหว่างนักเรียนกำลังเรียนรู้ เรื่อง สมบัติการดูดซับน้ำของวัสดุ ในรายวิชาวิทยาศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ผ่านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สะเต็มศึกษา ในแนวคิดการวิจัยที่อาศัยการทำความเข้าใจแนวคิดที่กลุ่มเป้าหมายยึดถือปฏิบัติ จำนวน 4 แผน รวมทั้งหมด 6 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ใบบันทึกกิจกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน และการสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง ผลการวิจัยการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษาตามกระบวนการคิดเชิงออกแบบ 5 ขั้นตอน คือ การสร้างความเข้าใจถึงปัญหาและความต้องการของผู้ใช้งานอย่างลึกซึ้ง (Empathize) การตีกรอบปัญหา (Define) การระดมความคิด (Ideate) การสร้างต้นแบบ (Prototype) และการทดสอบ (Test) พบว่าการวิเคราะห์สมรรถนะการคิด
เชิงคำนวณโดยรวม 4 องค์ประกอบ พบว่า นักเรียนมีสมรรถนะการคิดเชิงคำนวณอยู่ในระดับ ดีเยี่ยม จำนวน 6 คน อยู่ในระดับ ดี 3 คน และไม่มีนักเรียนอยู่อยู่ในเกณฑ์ระดับคุณภาพ พอใช้

Article Details

บท
Article

References

ชววรรณ แปงการิยา และวนินทร พูนไพบูลย์พิพัฒน์. (2564). ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาเรื่อง อัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดเชิงคำนวณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. สืบค้นเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2565 จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/download/242336/167569/

ชยการ คีรีรัตน์.(2562). การใช้กระบวนการแก้ปัญหาและโปรแกรม App Inventor พัฒนาทักษะการคิดเชิงคำนวณ (Computational Thinking: CT) สำหรับผู้เรียนระดับมัธยมศึกษา. วารสารครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 47(2), 31-47.

โชคชัย ยืนยง (2552) กระบวนทัศน์เชิงตีความ (Interpretive paradigm): อีกกระบวนทัศน์หนึ่งสำหรับการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ศึกษา . วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปีที่ 32 ฉบับที่ 3 กรกฏาคม - กันยายน 2552 หน้า 14 - 22.

โชติกา สงคราม. (2562). การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานที่ส่งเสริมทักษะการคิดเชิงคำนวณ เรื่อง ความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. การค้นคว้าอิสระ หลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ศึกษา. มหาวิทยาลัยนเรศวร. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2565 จาก http:// www.edu.nu.ac.th/th/news/docs/download/2020_06_09_11_10_28.pdf.

นันทวรรณ นาคำ. (2564). การศึกษาสมรรถนะการคิดเชิงคำนวณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่องสารละลาย โดยใช้การจัดการเรียนรู้การคิดเชิงออกแบบ. การค้นคว้าอิสระ หลักสูตรศึกษาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

บัญญพนต์ พูลสวัสดิ์, พนมพร ดอกประโคน. (2559). เกมบนโปรแกรมเชิงจินตภาพ และแนวคิดเชิงคํานวณอย่างเป็นระบบ. วารสารวิทยาการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร. 6(2), 9-16.

ปานทิพย์ ผ่องอักษร. (2561). การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 : ถอดบทเรียนการใช้ห้องเรียนกลับทาง. กรุงเทพวารสารพยาบาลทหารบก. 19(2), 47-54.

พันธ์ยุทธ น้อยพินิจ, วนินทร สุภาพ, และจักรกฤษ กลิ่นเอี่ยม. (2562). การวิจัยปฏิบัติการเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ภาคตัดกรวยด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต. 13(2), 70-84.

พิชญา กล้าหาญ, และวิสูตร โพธิ์เงิน. (2564). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดกระบวนการคิดเชิงออกแบบร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความเป็นนวัตกรของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 49(2), 1-16.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์, และพเยาว์ ยินดีสุข. (2557). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภาสกร เรืองรอง, รุจโรจน์ แก้วอุไร, ศศิธร นาม่วงอ่อน, อพัชชา ช้างขวัญยืน, และศุภสิทธิ์ เต็งคิว.(2561). Computational Thinking กับการศึกษาไทย. วารสารปัญญาภิวัฒน์. 10(3), 322-330.

ภุชงค์ โรจน์แสงรัตน์ (2563). การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้แนวคิดการคิดเชิงออกแบบเป็นฐานเพื่อสร้างสรรค์ผลงานที่ปรากฏอัตลักษณ์ไทยสําหรับนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 46(3), 258-273

มานิตย์ อาษานอก. (2561). การบูรณาการกระบวนการคิดเชิงออกแบบเพื่อพัฒนานวัตกรรม การจัดการเรียนรู้. วารสาร เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา. 1(1), 6-12.

วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง และอธิป จิตตฤกษ์. (2554). ทักษะแห่งอนาคตใหม่ : การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โอเพ่นเวิลด์ส. แปลจาก James A. Bellanca & Ron 151 Brandt. (2010). 21st Century Skills : Rethinking How Students Learn. Bloomington, IN: Solution Tree

วิรุฬห์ สิทธิเขตรกรณ์ และสุรีย์พร สว่างเมฆ. (2564). การพัฒนาทักษะการคิดเชิงคำนวณด้วยกิจกรรมการเรียนรู้สืบเสาะแบบ 5Esร่วมกับบอร์ดเกมและการเขียน Formula Coding เรื่อง ประชากรในสถานการณ์โรคระบาด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2565จาก https://so06. tcithaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/download/248218/169108/

ศิรัฐ อิ่มแช่ม และ ใจทิพย์ ณ สงขลา. (2563). ผลการใช้แชทบอทที่มีการช่วยเสริมศักยภาพการเรียนรู้ออนไลน์ที่มีผลต่อการคิดเชิงคำนวณของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ทีมีศักยภาพที่แตกต่างกัน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 13(1), 45-57

สิรินาฎ ใจธรรม. (2564). ศึกษาสมรรถนะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา และการคิดเชิงคำนวณ เรื่อง สารบริสุทธิ์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยการจัดการเรียนรู้การคิดเชิงออกแบบ. การค้นคว้าอิสระ หลักสูตรศึกษาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุมิตรา บูชา. (2563). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาชีววิทยาโดยใช้การคิดเชิงออกแบบร่วมกับแนวคิดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(12), 210-221

ไปรมา อิศรเสนา ณ อยุธยา และชูจิต ตรีรัตนพันธ์. (2560). การคิดเชิงออกแบบเรียนรู้ด้วยการลงมือทำ. กรุงเทพฯ: ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC)

อัครวัฒน์ ศรีสวัสดิ์, ประเทือง สุขมณีล้ำ, สุกัญญา สุตะพันธ์, โชคชัย ยืนยง (2566) ผลกระทบของการถ่ายทอดเทคโนโลยีเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษาให้กับครูในประเทศฟิลิปปินส์ เวียดนาม และอินโดนีเชีย. วารสารชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพครู, 3 (2), 121-139

Chinnasa, P., Sohsomboon, P., & Yuenyong, C. (2021). Seeing and understanding new opportunities for developing educational research through research multi-paradigms. Journal of Education Rajabhat Maha Sarakham University, 18(2), 47–64. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edu-rmu/article/view/252434

Sohsomboon, P and Yuenyong, C. (2021). Strategies for Teacher Utilizing Ethnography as a Way of Seeing for STEAM Education. Journal of Physics: Conference Series 1933 (1), 012080

Sohsomboon, P. and Yuenyong, C. (2022). Examine in-service teachers’ initial perceptions toward STEM education in Thailand. Asia Pacific Journal of Educators and Education, 37 (2), 325–352.

Stanford. (2005). Bootcamp bootleg. Retrieved July,2 2022 from https://static1.squarespace.com/static/57c6b79629687fde090a0fdd/t/58890239db29d6cc6c3338f7/1485374014340/METHODCARDS-v3-slim.pdf

Sutaphan, S. and Yuenyong, C. (2019). STEM Education Teaching approach: Inquiry from the Context Based. Journal of Physics: Conference Series, 1340 (1), 012003

Sutaphan, S and Yuenyong, C (2021). Examine pre-service science teachers’ existing ideas about STEM education in school setting. Journal of Physics: Conference Series 1835 (1), 012002

Sutaphan, S., and Yuenyong, C. (2023). Enhancing grade eight students’ creative thinking in the water stem education learning unit. Cakrawala Pendidikan: Jurnal Ilmiah Pendidikan, 42(1), 120-135.

Wing, J. M. (2010). Computational thinking: What and why?. Retrieved from http://www.urces/TheLinkWing.pdf

Yuenyong, C. (2019). Lesson learned of building up community of practice for STEM education in Thailand. AIP Conference Proceedings. 2081, 020002-1 – 020002-6.