การุณยฆาต : บริบทสังคมไทยและพุทธจริยศาสตร์

Main Article Content

พระมหาสุภวิชญ์ ปภสฺสโร,รศ.

บทคัดย่อ

การทำการุณยฆาตในประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายรับรองเรื่องการทำการุณยฆาต ที่ถือเป็น
การเร่งการตาย การุณยฆาตจึงแตกต่างจากการทำหนังสือแสดงเจตนาตามพระราชบัญญัติสุขภาพ
แห่งชาติ พ.ศ. 2550 มาตรา 12 ซึ่งถือเป็นการแสดงเจตนาของบุคคลเพื่อที่จะกาหนดวิธีการดูแลรักษา
ของผู้ป่วยในวาระสุดท้ายของชีวิต เป็นการรับรองสิทธิของผู้ป่วยที่จะตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองที่จะขอ
ตายอย่างสงบตามธรรมชาติ ไม่ถูกเหนี่ยวรั้งด้วยเครื่องมือ ต่าง ๆ จากเทคโนโลยีต่าง ๆ กฎหมายหลาย
ประเทศก็ให้การยอมรับในเรื่องนี้ ดังนั้น จึงถือเป็นความเข้าใจผิดอย่างสิ้นเชิงของแพทย์บางกลุ่มที่เห็น
ว่า การใช้สิทธิตามมาตรา 12 ตามพระราชบัญญัตินี้เป็นกรณี การุณยฆาต สิ่งแรกสุดที่ควรจะระลึกอยู่
เสมอก็คือ การุณยฆาตไม่ว่าจะทาเพราะความหวังดีเพียงใด และทากับใคร ก็ตาม ทั้งหมด
พระพุทธศาสนาถือว่าเป็นการฆ่าคน จริยธรรมทางพระพุทธศาสนาเป็นจริยธรรมแบบเด็ดขาดตายตัว
การฆ่าก็คือการฆ่า จัดว่าผิดศีลข้อหนึ่งทั้งสิ้น การฆ่าด้วยเจตนาที่ดีผ่อนบาปหนักให้เป็นเบาได้ แต่ไม่
สามารถหักล้างให้การุณยฆาตเป็นสิ่งที่ผิดศีลธรรมในทางพระพุทธศาสนาซึ่งก็เป็นปัญหาทางจริยศาสตร์

Article Details

บท
บทความวิชาการ