วิเคราะห์ทฤษฎีปรมาณูนิยมในทรรศนะของพุทธปรัชญา

Main Article Content

ฉลอง พันธุ์จันทร์
สมชาย หานนท์
พระทวีศักดิ์ ไทศรีโคตร

บทคัดย่อ

สสารเป็นบ่อเกิดของโลกจักรวาล มนุษย์ มีร่างกายที่ปรากฏอยู่ประกอบด้วยกลไกต่างๆ และ
ทำงานได้ดุจเครื่องจักรกล ส่วนจิตนั้นเป็นสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง ลักษณะต่างๆ ของจิต ไม่ว่าจะเป็นความรู้สึก
นึกคิด ความเข้าใจ เป็นผลมาจากการรวมตัวของวัตถุหรือสสาร เมื่อพิจารณามนุษย์ในฐานะร่างกาย
ย่อมต้องพิจารณาความเป็นจริงตามแนวคิดของกลุ่มสสารนิยม นั่นคือ ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นสสารหรือวัตถุ
สสารนิยมนี้เริ่มต้นตั้งแต่ปรัชญายุคแรกของกรีกที่พยายามค้นหาคำตอบของโลกและสรรพสิ่งที่ปรากฏ
อยู่ว่าเกิดมาจากปฐมธาตุ วัตถุหรือสสารนั้นเกิดขึ้นจากการรวมตัวกันของธาตุที่เล็กที่สุดนั้น กระแส
สสารนิยมมี 2 สาย ได้แก่ ปรมาณูนิยม (atomism) ในยุคแรกเชื่อว่า สรรพสิ่งประกอบจากส่วนย่อย
ที่สุดที่ไม่สามารถจะแยกออกเป็นสิ่งอื่นที่ย่อยกว่านั้นได้อีกแล้ว เรียกว่า “อะตอม” คาว่า อะตอมที่ใช้
ในทางปรัชญานี้หมายถึง อนุภาคที่เล็กที่สุด เป็นอนุภาคสุดท้ายที่แยกต่อไปอีกไม่ได้แล้ว อะตอมนี้เป็น
อนุภาคนิรันดร ไม่เกิด ไม่ตายมีมาเอง ไม่มีใครสร้าง และไม่มีใครทาลายได้ ฮอบส์ ได้เอาทฤษฎีปรมาณู
มาพัฒนาเพื่ออธิบายว่าชีวิต คือ “เครื่องจักร” ความเป็นจริงมีแต่สสารซึ่งมีพลังประจาตัว พลังนี้อาจ
ถ่ายทอดจากเทห์หนึ่งไปสู่เทห์อื่นได้ด้วยการประชิด ปรากฏการณ์ทั้งหลายในเอกภพเกิดจากการเปลี่ยน
ที่ของเทห์ด้วยอานาจของพลังที่ถ่ายทอดกันระหว่างเทห์ โดยมีกฎแน่นอนตายตัวตามหลักกลศาสตร์ไม่
มีอะไรเกิดขึ้นโดยบังเอิญ มีผลก็ต้องมีสาเหตุ เช่น มีไอน้าเกิดในอากาศเกินจุดอิ่มตัวมากๆ ก็ต้องตกลง
มาเป็นฝน เป็นต้น ดังนั้น ชีวิต คือ เครื่องจักรกลซับซ้อน ดวงตาทางานเหมือนกล้องถ่ายรูป ปอด
เหมือนเครื่องปั้มลม ปากเหมือนโม่บด แขนเหมือนคานงัด หัวใจเหมือนสปริง เส้นประสาทเหมือนสปริง
จานวนมาก กระดูกข้อต่อเหมือนวงจักร สิ่งเหล่านี้ทาให้ร่างกายมนุษย์เคลื่อนไหวอย่างเป็นระบบกลไก
ได้

Article Details

บท
บทความวิชาการ