ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายการเมือการปกครองท้องถิ่น - วิถีใหม่

Main Article Content

ร.ศ.ดร.ธงชัย สิงอุดม

บทคัดย่อ

หัวใจสำคัญของเครือข่ายทางสังคม อยู่ที่กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แลกเปลี่ยนข้อมูล
ข่าวสารกันเป็นประจำ พัฒนาไปสู่การสานความสัมพันธ์ในเชิงคุณภาพ การวางแผนดำเนินกิจกรรม
บางอย่างร่วมกัน ด้านหนึ่งก็ช่วยหลีกเลี่ยงความซ้าซ้อน อีกด้านหนึ่งทาให้กิจกรรมเหล่านั้นมี
ประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น นอกจากนั้นยังเป็นการประสานพลัง การใช้ทรัพยากร การใช้
พลังงานอย่างประหยัด โดยเฉพาะการรณรงค์ทางสังคมต่างๆ รูปแบบการทางานเป็นเครือข่ายจะ
ได้ผลดี
การบริหารจัดการเครือข่าย แบ่งลักษณะได้เป็น 3 แบบ ได้แก่
1) ปัจเจก (individual) สมาชิกที่เป็นแบบตัวบุคคล ไม่มีกลุ่มหรือองค์กรใดๆ รองรับ แต่ใน
ความเป็นตัวบุคคลของเขาเหล่านั้น อาจมีศักยภาพสูงต่าแตกต่างกันไป บางคนอาจมีเครือข่าย
ความสัมพันธ์ที่กว้างขวางยิ่งกว่ากลุ่มองค์กรใดๆเสียอีก
2) ชุมทางหรือองค์กรประสาน (node) สมาชิกในเครือข่ายที่เป็นกลุ่ม องค์กรหรือสถาบันที่
มีศักยภาพในการจัดการประสานเชื่อมโยงกับบุคคล กลุ่มหรือองค์การอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก
3) เครือข่าย (network) สมาชิกที่มีเครือข่ายย่อยๆ อีกมากมายอยู่ข้างหลังและพร้อมที่จะ
เข้าร่วมกิจกรรมสาธารณะต่างๆ ตามจังหวะ โอกาส และประเด็นที่สนใจ

Article Details

บท
บทความวิชาการ