วิเคราะห์คุณค่าพุทธจิตวิทยาในพระอภิธรรมปิฎก

Main Article Content

พระมหาจงมี วิชยธมฺโม (ทับพิลา)

บทคัดย่อ

คำว่า “จิต” ในทางพระพุทธศาสนาเป็นไปในทางธาตุรู้ หรือธาตุคิดที่มีกระบวนการเปลี่ยนแปลงไปตามองค์ประกอบหรือคุณภาพต่างๆ ที่เรียกว่า เจตสิก กระบวนการนี้ เกิดดับไปตามแต่ที่จิตจะเหนี่ยวสิ่งใดขึ้นมาจับไว้ จิตจึงเป็นความคิดที่เกิด ดับ ๆ  โดยทั่วไปจิตจะมีสิ่งปรุงแต่งจิต ให้มีลักษณะเฉพาะตัวที่แตกต่างกันไป สิ่งที่ปรุงแต่งจิตก็คือ เจตสิก ซึ่งจิตกับเจตสิกจะต้องเกิดร่วมกันเสมอ แต่จะรู้ได้ชัดเมื่อมีการกระทบอารมณ์ทางทวารต่างๆ  เช่น เมื่อมีการกระทบอารมณ์ทางตาเกิดขึ้น (ตาเห็นรูป) ต่อมาก็จะเกิดจิตที่มีสิ่งปรุงแต่งจิตตามมา โดยอาจเกิดจิตที่มีราคะ จิตที่มีโทสะ จิตที่มีโมหะ ฯลฯ ขึ้นมาแทนจิตดวงเก่าที่ดับไปซึ่งการกระทบอารมณ์ทางทวารต่าง ๆ จะมีอยู่ตลอดเวลา  แค่เพียงไม่กี่วินาที ก็สามารถเกิดการกระทบอารมณ์ได้ตั้งหลายอย่าง แค่เพียงไม่กี่วินาทีก็เกิดจิตที่มีสิ่งปรุงแต่งได้ตั้งหลายดวง   ในทางพระพุทธศาสนาไม่ถือว่าจิตเป็นตัวตนที่แท้จริง แต่ถือว่าเป็นสิ่งที่อาศัยเหตุปัจจัยหลายอย่างท าให้เกิดขึ้น ตามกฎแห่งอนัตตา ผลการศึกษาพบว่าจิตมีคุณค่าเชิงพุทธจิตวิทยาในพระอภิธรรมปิฎก คือ ต่อตนเองและสังคม รวมถึงการความสอดคล้องกันของพุทธจิตวิทยากับจิตวิทยาสากล

Article Details

บท
บทความวิชาการ