การแก้ปัญหามลพิษของไทยยุคประชาคมอาเซียนเชิงพุทธบูรณาการ
Main Article Content
บทคัดย่อ
ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่การเป็น ประชาคมอาเซียน ซึ่งการรวมกลุ่มของประเทศสมาชิก อาเซียน มีการเชื่อมต่อกันเสมือนหนึ่งว่าอาเซียนเป็นพรมแดน เดียวกัน จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในภูมิภาค ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เมื่ออาเซียนรวม เป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน ทำให้เกิดการเคลื่อนย้าย สินค้า บริการ การลงทุน และแรงงานฝีมือภายในภูมิภาค อาเซียนได้อย่างเสรี อาจมีการนำเข้า-ส่งออกสินค้าหรือ วัตถุดิบที่ไม่มีคุณภาพหรือไม่ได้มาตรฐาน การผลิตสินค้า หรือประกอบกิจการที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายสิ่งแวดล้อม ตลาดการท่องเที่ยวและนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น ทำให้เกิดน้ำเสียและขยะมูลฝอยเพิ่มขึ้น การขยายตัวของธุรกิจ ด้านคมนาคม การขนส่งทั้งภายในและระหว่างประเทศ เพิ่มขึ้น อาจทำให้ปัญหามลพิษทางอากาศเพิ่มขึ้น การเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมาย กฎระเบียบ มาตรฐาน และมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศต่างๆ ในอาเซียน ทำให้ทราบหลักการและแนวทาง การจัดการสิ่งแวดล้อมในบริบทที่ต่างๆ ของแต่ละประเทศ สมาชิกอาเซียน ซึ่งจะบางส่วนที่มีความคล้ายคลึงกัน เช่น มีการกำหนดค่ามาตรฐานคุณภาพอากาศ และน้ำมาตรฐาน การแก้ปัญหามลพิษเชิงพุทธ ควรปรับใช้หลักอริยสัจสี่ไปใช้ให้เหมาะสม คือ รู้ปัญหามลพิษ รู้สาเหตุของการเกิดมลพิษ สามารถป้องกันมลพิษได้ และสามารถนำหลักการและวิธีการที่เหมาะสมไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
Article Details
JOURNAL OF MCU LOEI REVIEW
ISSN 2730-1451
ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนางานวิจัย วิทยาลัยสงฆ์เลย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
เลขที่ 119 หมู่ 5 ตาบลศรีสองรัก อาเภอเมือง จังหวัดเลย 42100.
โทรศัพท์ : 042 039 630
โทรศัพท์ : 085 419 3595
Email : jarukit.phi@mcu.ac.th