ไหมคุณธรรมสร้างชาติ

Main Article Content

กาญจนา ยงเสมอ
พระวุทธ สุเมโธ (ทองมั่น)
ดร.ถิรวัฒน์ แจ่มกระจ่าง

บทคัดย่อ

          การจัดทำโครงการ Cap-Corner Stone (CCS) ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบตัวชี้วัด องค์กรวิสาหกิจชุมชน และศึกษาความสอดคล้องขององค์กรธุรกิจที่จัดตั้งขึ้น เพื่อส่งเสริมความกินดีอยู่ ดีของชาวบ้านพื้นที่อ าเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น และผลการด าเนินการจากโครงการ "อีรี่ ไหมคุณธรรมสร้างชาติ (Mancha Khiri 's Eri Model)" ของนักศึกษา หลักสูตรนักบริหารระดับสูงเพื่อการสร้างชาติ กลุ่มประเทศสาธารณรัฐเช็ค รุ่นที่ 8 พบว่ามีผลิตภัณฑ์ทางเศรษฐกิจ คือ ผลิตภัณฑ์ผ้าไหมอีรี่ที่มีความโดดเด่น สามารถขยายไปสู่ตลาดระดับโลก แต่ด้วยความจ ากัดด้านทรัพยากรและความรู้ของชาวบ้าน จึงต้องอาศัยความร่วมมือของ 3 ภาคกิจ (ภาครัฐกิจ ภาคธุรกิจ และภาคประชากิจ)
          กลุ่มนักศึกษาหลักสูตรนักบริหารระดับสูง เพื่อการสร้างชาติ กลุ่มประเทศสาธารณรัฐเช็ค รุ่นที่ 8 จึงเสนอกรอบแนวคิดการพัฒนาเชิงบูรณาการ โดยจัดตั้งองค์ภาควิสาหกิจชุมชน ชื่อบริษัทเดอปัญจา จำกัด เป็นตัวขับเคลื่อน เปิดตลาดใหม่ให้เป็นที่รู้จักในงานครูโลก เชื่อมโยงเครือข่ายที่อยู่ในพื้นที่และผู้เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งประกาศให้เป็นวันส าคัญของโลก คือวันอีรี่ นอกจากนี้ยังมีการสร้างกรอบตัวชี้วัดเพื่อเป็นแนวทางให้กับองค์กรธุรกิจสามารถมีส่วนส าคัญในการสร้างชาติ สามารถเป็นต้นแบบขององค์กรธุรกิจที่บูรณาการสามารถจัดได้อย่างมีนัยส าคัญ

Article Details

บท
บทความวิจัย