เปรียบเทียบปรัชญาอัตถิภาวนิยมของซอเร็น อาบี คีร์เคกอร์ด กับพุทธปรัชญา

Main Article Content

ศรุตานนท์ ชอบประดิษฐ์

บทคัดย่อ

            บทความเรื่องนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ“การศึกษาเปรียบเทียบปรัชญาอัตถิภาวนิยมของซอเร็น อาบี  คีร์เคกอร์ดกับพุทธปรัชญา” นี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาปรัชญาอัตถิภาวนิยมของซอเร็น อาบี คีร์เคกอร์ด , 2) เพื่อศึกษาปรัชญาอัตถิภาวนิยมในพุทธปรัชญา และ 3) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบปรัชญาอัตถิภาวนิยมของซอเร็น อาบี คีร์เคกอร์ดกับพุทธปรัชญา  การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ และประเภทวิเคราะห์เอกสาร


             จากการวิเคราะห์ พบว่า ซอเร็น อาบี คีร์เคกอร์ด เสนอว่าชีวิตมนุษย์จะดำรงอยู่ โดยมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกับสังคมและผู้อื่น  ซึ่งมนุษย์แต่ละคนก็ต้องมีความเป็นตัวตนแบบ ปัจเจกชน (individual) และต้องมีเป้าหมายของชีวิตหลายมิติ (ontic dimension) ในโลกจริงๆ ไม่ใช่โลกสมมติขึ้นมา ซึ่งต่อมาแนวคิดปัจเจกชนก็ได้ขยายฐานแนวคิด ออกเป็น 3 ระดับ คือ 1) อัตถิภาวะกับสุนทรียศาสตร์ (Aesthetical stage) 2) อัตถิภาวะกับจริยศาสตร์ (Ethical stage) 3) อัตถิภาวะกับศาสนา (Religious stage) เพื่อเชื่อมโยงศรัทธา (faith) ที่มีต่อพระเจ้าขัดเกลาจิตใจของตนเองอย่างบริสุทธิ์ แต่ในทางพุทธปรัชญามองโลกและชีวิตที่ปรากฎในพุทธประวัติของเจ้าชายสิทธัตถะ ที่มองเห็นปัญหาใหญ่ของมนุษย์จึงได้เริ่มดำริหาวิธีแก้ไข ในที่สุดได้เลือกทางแห่งการแสวงหาความจริง และความหมายของชีวิตตนนั้นตกอยู่ภายใต้กฎแห่งไตรลักษณ์ ได้แก่ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แต่ด้วยความที่ไม่รู้ของมนุษย์จึงเข้าไปหลงยึดหลงติดอยู่กับความเป็นกลุ่มก้อนของธาตุทั้งหลาย ด้วยอำนาจของความอยากยากเข้าใจผิดคิดว่าเป็นตัวตน แต่ความจริงมันคือ สภาพของความว่างเปล่า ดังนั้น ซอเร็น อาบี คีร์เคกอร์ดให้ความสำคัญในหลักศรัทธา (faith) ซึ่งเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ เพื่อไม่ให้จิตสำนึกหมกหนุนไปกับสิ่งแวดล้อมทางสังคมรอบๆ ตัวเอง เพราะจะทำให้ตัวเองไปกระทำสิ่งที่ผิดต่อพระเจ้า แต่ในพุทธปรัชญาให้ความสำคัญในกฎไตรลักษณ์ ดังนั้นปรัชญาอัตถิภาวนิยมของทั้ง 2 จึงมุ่งไปถึง “แก่นแท้ของศาสนา”ทั้งสิ้น

Article Details

บท
บทความวิชาการ