ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดพะเยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดพะเยา 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดพะเยา 3) เสนอแนวทางการมีส่วนร่วมทางการเมืองของกลุ่มชาติพันธุ์ โดยใช้ระเบียบวิจัยแบบผสมวิธี ประชากร คือ กลุ่มชาติพันธุ์เมี่ยนและม้ง จำนวน 23,293 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 394 คน สัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ นำไปหาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามได้ .95 และนำข้อมูลคุณภาพมาสรุปความตามเนื้อหา สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติการวิเคราะห์เชิงพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการมีส่วนร่วมทางการเมือง ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 2.72) เมื่อพิจารณารายข้อจากมากไปน้อย พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง 3 ด้าน คือ การติดต่องานของประชาชน ( = 2.95) มากที่สุด รองลงมา การลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ( = 2.86) การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง ( = 2.64) และอยู่ในระดับน้อย 1 ด้านคือการร่วมกิจกรรมขององค์กรหรือกลุ่มทางสังคมและการเมือง ( = 2.43) 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมือง พบว่า ปัจจัยทางด้านจิตวิทยาทางการเมือง ด้านสิ่งแวดล้อมทางการเมือง ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของกลุ่มชาติพันธุ์ ร้อยละ 29.5 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) เสนอแนวทางการมีส่วนร่วมทางการเมือง ได้แก่ 1. เพิ่มการรับรู้องค์ความรู้ 2. ความเข้าใจที่ถูกต้องในระบอบประชาธิปไตย 3. ต้องใช้วิถีชุมชนวัฒนธรรมประเพณี 4. สร้างพลังชุมชนในขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมทางการเมือง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เอกสารอ้างอิง
คณะกรรมการการเลือกตั้งจังหวัดพะเยา. (2562). ข้อมูลการใช้สิทธิ์เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพะเยา. 17 ธันวาคม 2562. (เอกสารสำเนา).
ฐานิตา เฉลิมช่วง. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในระดับเทศบาล จังหวัดฉะเชิงเทรา. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
บุศรา โพธิสุข. (2558). การมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชน: ศึกษาเฉพาะกรณีตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่. ใน รายงานวิจัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ประเวช แสวงสุข. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตทวีวัฒนา. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหิดล.
ภูสิทธิ์ ขันติกุล. (2553). รูปแบบการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร. ใน รายงานวิจัย, มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.
ศูนย์พัฒนาราษฎรพื้นที่ราบสูงจังหวัดพะเยา. (2561). แบบข้อมูลพื้นฐานชุมชนบนพื้นที่ราบสูง ปี 2561. 20 มีนาคม 2561. (เอกสารสำเนา).
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2554). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน. กรุงเทพมหานคร : สำนักการพิมพ์สำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
Conbach, L. Joseph. (1984). Essential of Psychology and Education. New York : Mc–Graw Hill.