ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมทางการบริหารการศึกษา ของสถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต 3

Main Article Content

ปภาณิน กินาวงศ์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


            บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมทางการบริหารการศึกษา   2) เพื่อศึกษาปัญหาการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมทางการบริหารการศึกษา 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมทางการบริหารการศึกษา ของผู้บริหารสถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต 3 การวิจัยนี้ใช้การวิจัยแบบผสมผสาน ข้อมูลเชิงปริมาณได้จาก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูของสถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ซึ่งได้มาโดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากตารางประมาณขนาดกลุ่มตัวอย่างของเครซี่และมอร์แกน ได้กลุ่มตัวอย่าง 183 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วยค่าความถี่ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และข้อมูลเชิงคุณภาพได้จากการสนทนากลุ่มผู้บริหารสถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาในสังกัดสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 ที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 8 คน


          ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมทางการบริหารการศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ปัญหาและอุปสรรคของการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมทางการบริหารการศึกษา พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษามีการปรับปรุง แก้ไขและพัฒนาองค์การตามทิศทางการเปลี่ยนแปลงด้านการศึกษาไม่สม่ำเสมอ ไม่มีการใช้ ICT เป็นฐานในการจัดการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ขาดการติดต่อสื่อสาร ประสานงานที่ดีพอ 3) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมทางการบริหารการศึกษา คือ ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีการวางแผน การดำเนินการ การตรวจสอบ และการประเมินผล โดยใช้กระบวนการ PDCA ในการพัฒนา ควรมีนโยบายในการปฏิบัติงานตามทิศทางการจัดการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไป เปิดโอกาสให้ทุกคนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาองค์กรและพัฒนานวัตกรรม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). “ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องการจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จังหวัดเชียงใหม่”. 2 ตุลาคม 2561.

กุลชลี จงเจริญ. (2561). หน่วยที่ 12 ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม. (เอกสารไม่ได้ตีพิมพ์): ศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

จรุณี เก้าเอี้ยน. (2556). คุณลักษณะผ้ำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในบริบทของสังคมพหุวัฒนธรรม. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

จีราภา ประพันธ์พัฒน์. (2560). การศึกษาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ฐิตินันท์ นันทะศรี และคณะ. (2563). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา. วารสารบัณฑิตศึกษา, 17(79), 11-20.

ธนายุ ภู่วิทยาธร. (2561). การทำงานเป็นทีมส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารการบัญชีและการจัดการมหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 10(2), 198-208.

รณกร ประทุมเกสร์. (2561). ปัจจัยขององค์การนวัตกรรมและองค์การแห่งการเรียนรู้ที่มีอิทธิพลต่อการทำงานตามสมรรถนะหลักของพนักงาน: กรณีศึกษาบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน จำกัด. ใน การศึกษาค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วัชรีพรรณ จันทร์หอม. (2560). พฤติกรรมการบริหารที่ส่งผลต่อวิสัยทัศน์ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาส จังหวัดเชียงราย. วารสารสาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 10(1), 1-10.

ศศิจันทร์ ปัญจทวี. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับการใช้ระบบสารสนเทศกรณีศึกษาสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตเชียงใหม่. ใน การค้นคว้าอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

อนุสรา สุวรรณวงศ์. (2559). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม (Innovative Leadership). เรียกใช้เมื่อ 1กุมภาพันธ์ 2566 จาก https://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/52233/- edu-teaartedu-teaart-teaartdir-.

อภิฤดี โหนา. (2565). ทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารกับการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพของครู ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต1. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อรอนงค์ โรจน์วัฒนบูลย์. (2553). การพัฒนาตัวแบบผู้นำเชิงนวัตกรรม. เรียกใช้เมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2566 จาก https://doi.nrct.go.th/ListDoi/listDetail?Resolve_DOI=10.14457/NIDA.the.2010.6.