การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการป่าชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลช่องกุ่ม อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว

Main Article Content

ภัทรภร จ่ายเพ็ง
วัชรพิพัฒน์ ศิลปารัตน์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการป่าชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลช่องกุ่ม (2) ระดับประสิทธิภาพการจัดการป่าชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลช่องกุ่ม และ (3) แนวทางการยกระดับประสิทธิภาพการจัดการป่าชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลช่องกุ่ม การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงผสม โดยการวิจัยเชิงปริมาณมีกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนในพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลช่องกุ่ม อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว จำนวน 262 คน ได้จากการคำนวณด้วยสูตรของ Yamane ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับผู้ให้ข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ ผู้แทนผู้นำชุมชน, ผู้แทนส่วนราชการ และผู้แทนองค์การบริหารส่วนตำบลช่องกุ่ม รวมจำนวน 7 คน เป็นการกำหนดผู้ให้ข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจง ใช้แบบสัมภาษณ์ในการเก็บรวบรวมข้อมูล


ผลการวิจัยพบว่า 1) การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการป่าชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลช่องกุ่ม อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว อยู่ในระดับมาก โดยระดับการร่วมมือมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ตามด้วยระดับการเข้าไปเกี่ยวข้อง การให้คำปรึกษาหารือ การให้ข้อมูลข่าวสาร และการมอบอำนาจการตัดสินใจ 2) ประสิทธิภาพการจัดการป่าชุมชน อยู่ในระดับมาก โดยการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ป่าชุมชนมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือการมีระเบียบและกฎเกณฑ์ องค์กรประชาชนในการดูแลป่า และการสนับสนุนจากองค์กรภายนอก 3) ข้อเสนอแนะ ได้แก่ การสนับสนุนจากองค์กรภายนอกเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความถูกต้องตามหลักวิชาการในการดูแลป่าชุมชน เพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ชุมชน การจัดการปัญหาและอุปสรรคผ่านการประชุมเพื่อปรึกษาหารือและหาทางออกร่วมกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

กรมป่าไม้. (2561). คู่มือประชาชน ส่งความรู้ เสริมความเข้าใจป่าชุมชน. กรุงเทพมหานคร : ส.มงคลการพิมพ์.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศักดิ์. (2543). การจัดการเครือข่าย: กลยุทธ์สำคัญสู่ความสำเร็จของการปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : ซัคเซส มีเดีย.

คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2552). การบริหารงานภาครัฐในรูปแบบเครือข่าย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2553). ต้นแบบความเป็นเลิศด้านการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมในระดับจังหวัด. กรุงเทพมหานคร : เค.พี.กราฟิค์ดีไซน์.

สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสระแก้ว. (2565). รายงานประจำปี 2565. สระแก้ว : สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสระแก้ว.

องค์การบริหารส่วนตำบลช่องกุ่ม. (2566). แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ.2566-2570) องค์การบริหารส่วนตำบลช่องกุ่ม อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว. สระแก้ว: องค์การบริหารส่วนตำบลช่องกุ่ม.

อรทัย ก๊กผล. (2550). คู่มือพลเมืองยุคใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.

อรพินท์ สพโชคชัย. (2551). หลักสำคัญในการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม Participatory Governance Principle. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน).

กรมป่าไม้. (2556). สรุปการจัดตั้งป่าชุมชน รายจังหวัด. เรียกใช้เมื่อ 1 ตุลาคม 2566, จาก https://forestinfo.forest.go.th/fCom_area.aspx

พระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ.2562. (2562). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136 ตอนที่ 71 ก หน้า 71 (29 พฤษภาคม 2562).

Cohen, J.M., & Uphoff, N.T. (1981). Rural Development Participation: Concept and Measure for Project Design Implementation and Evaluation: Rural Development Committee Center for international Studies. New York: Cornell University Press.

Davis and Newstrom, J.W. (1989). Human Behavior at Work Organizational Behavior. New York: McGraw-Hill.

Yamane, Taro. (1973). Statistics; An Introduction Analysis. Harper International Edition, Tokyo.

Arnstein, Sherry R. (1969). A Ladder of Citizen Participation. Journal of the American Planning Association, 35(4), 216-224.