การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของตัวบ่งชี้โรงเรียนคุณภาพสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของตัวบ่งชี้โรงเรียนคุณภาพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคายเขต 1 โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ ได้มีการกำหนดกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1 ในการกำหนดกลุ่มตัวอย่างสำหรับการวิจัยในครั้งนี้ ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ และกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างจำนวน 20 คนต่อ 1 พารามิเตอร์ ได้ขนาดของกลุ่มตัวอย่างจำนวน 320 คน แล้วดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ
ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันตัวบ่งชี้โรงเรียนคุณภาพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1 ในภาพรวมพบว่า องค์ประกอบในรูปคะแนนมาตรฐานที่มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมากที่สุด ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ เท่ากับ 0.90 รองลงมา ได้แก่ บรรยากาศการเรียนรู้ มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ 0.88 ประสิทธิภาพการสอนของครู มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ เท่ากับ 0.86 และองค์ประกอบในรูปคะแนนมาตรฐานที่มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ น้อยที่สุด ได้แก่ คุณภาพของนักเรียน มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ 0.85 2. ผลการตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลที่พัฒนาขึ้นจากพัฒนาขึ้นจากแนวคิดเชิงทฤษฎีกับข้อมูลเชิงประจักษ์ อ้างอิงเอกสาร ตำรา บทความงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แล้วนำมาสังเคราะห์องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่านัยสำคัญทางสถิติ (P-value) = 0.09 (RMSEA) = 0.04 (SRMR) = 0.06 (CFI) = 0.98 TLI = 0.98 และองค์ประกอบหลักมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ สูงกว่าเกณฑ์ 0.70 ทุกองค์ประกอบ องค์ประกอบย่อยและตัวบ่งชี้มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบสูงกว่าเกณฑ์ 0.30 ทุกองค์ประกอบและทุกตัวบ่งชี้
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เอกสารอ้างอิง
กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551. กรุงเทพมหานคร : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ดอกรัก แสนผล. (2560). การพัฒนาแนวทางเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการจัดการชั้นเรียน สำหรับสถานศึกษาขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา อุดรธานี เขต 4. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ถวิล อรัญเวศ. (2560). ผู้บริหารกับการครองตน ครองคน และครองงาน. สุดยอดนักบริหาร. นครราชสีมา : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4.
ธีรศักดิ์ อุปไมยอธิชัย. (2560). พื้นฐานการจัดการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นิกัญชลา ล้นเหลือ. (2554). โมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ปริศนา กล้าหาญ. (2559). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นาการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิภาพการสอนของครูสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
พิมพาพัญ ทองกิ่ง. (2563). บทบาทครูกับการจัดบรรยากาศชั้นเรียนเชิงบวกในศตวรรษที่ 21. ศึกษาศาสตร์วารสาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 4(1), 50-59.
มยุรี แพร่หลาย. (2554). การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา ภาควิชานโยบายการจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รักชนก โสอินทร์. (2562). การพัฒนาการคิดเชิงระบบโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรูแบบโครงงาน รายวิชาสังคมศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนทีปราษฎรพิทยา อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี. ใน วิทยานิพนธ์หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎรธานี.
วีรศักดิ์ ตะหน่อง. (2562). กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนคุณภาพ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(9), 4536-4538
สมัต อวบสุวรรณ์. (2556). ตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำแบบร่วมพลังของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1. (2562). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณพ.ศ.2562. หนองคาย : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). สพฐ. วิถีใหม่ วิถีคุณภาพ. เรียกใช้เมื่อ 20 ตุลาคม 2565 จาก https://www.obec.go.th/wp-content/uploads/2020/10/สพฐ-วิถีใหม่-วิถีคุณภาพ.pdf
อภิชัย ทำมาน. (2561). รูปแบบการบริหารโรงเรียนคุณภาพสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1. นครปฐม : สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา.
อัมพร พินะสา. (2565). สพฐ. วิถีใหม่ วิถีคุณภาพ. เรียกใช้เมื่อ 20 ตุลาคม 2565 จากhttps://www.obec.go.th/wp-content/uploads/2020/10/สพฐ-วิถีใหม่-วิถีคุณภาพ.pdf
อาทิตยา ศักดิ์จันทร์ นัฎจรี เจริญสุข และสมคิด นาคขวัญ. (2560). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการส่งเสริม กระบวนการคิดเชิงระบบกับความสำเร็จ ในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของครู สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 ในจังหวัดชุมพร,” วารสารนาคบุตรปริทรรศน์, 16(1), 15-24.
Hair, J.F., Black, W.C., Babin, B.J. and Anderson, R.E. (2010). Multivariate Data Analysis. 7th Edition, Pearson, New York.