การพัฒนาความสามารถทางภูมิศาสตร์ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยการใช้กระบวนการทางภูมิศาสตร์ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การจัดการเรียนรู้ภูมิศาสตร์มีแนวทางการจัดการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่มุ่งเน้นการบรรยายเนื้อหา มาเป็นการทำความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมที่มีต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์และการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ อันเกิดจากการกระทำของมนุษย์และจากธรรมชาติเอง ผู้วิจัยจึงมีความสนใจในการพัฒนาทักษะทางภูมิศาสตร์ของนักเรียน ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมให้นักเรียนสามารถพัฒนาตนเอง และเรียนรู้จากประสบการณ์จริง หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้นำไปใช้ในการเรียนในระดับที่สูงขึ้น การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลการเรียนรู้กระบวนการทางภูมิศาสตร์ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการทางภูมิศาสตร์ก่อนและหลังเรียน 2) พัฒนาความสามารถทางภูมิศาสตร์ ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการทางภูมิศาสตร์ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการทางภูมิศาสตร์ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 20 คน โรงเรียนบ้านคำนกกก อำเภอบ้านแพง จังหวัดนครพนม ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้จัดเก็บข้อมูล ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าทางสถิติ t-test
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการเรียนรู้กระบวนการทางภูมิศาสตร์ด้วยการจัดการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการทางภูมิศาสตร์ มีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .66 2) ความสามารถทางภูมิศาสตร์ของนักเรียนพัฒนาจากระดับดี ถึงดีมาก และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียน พบว่า มีความพอใจอยู่ในระดับมาก
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เอกสารอ้างอิง
กนก จันทรา. (2561). การรู้เรื่องภูมิศาสตร์ ถอดบทเรียนประสบการณ์การจัดการเรียนรู้ภูมิศาสตร์ในชั้นเรียนที่เสริมสร้างการณ์การรู้เรื่องภูมิศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางสาระภูมิศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). เรียกใช้เมื่อ 8 กรกฎาคม 2566 จาก https://shorturl.asia/sgtUR
¬¬________________. (2560). หลักสูตรแกรกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช2551 (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2560). กรุงเทพมหานคร : คุรุสภา ลาดพร้าว.
ทิศนา แขมมณี. (2561). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 22. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิภาพรรณ พินลา และวิภาดา พินลา. (2561). การจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาในศตวรรษที่ 21.กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อรรถพล อนันตวรสกุล. (2561). มโนทัศน์พื้นฐานในการสอนภูมิศาสตร์. เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ Geo literacy สำหรับครูสังคม จัดโดย คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ณ อาคารวิจัยและการศึกษาต่อเนื่อง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ชั้น 2, 21 เมษายน 2561.
Chaiyana, K. (2019). The Development of The Instructional Model Using Geography Process to Develop Geography Literacy and Retention In Geography of upper Secondary Students: A Case Study in Wattanothaipayap School. Journal of Education Research. 15(1), 129-145. (In Thai)
Jantra, K. (2018). Geo-literacy: Learning for our planet Take lessons from the geography learning management experience in the classroom that enhance the Geo-literacy. Bangkok, Thailand: Chulalongkorn University Printing House
Ritthikraivorakul, P. (2017). The Development of Learning Achievement and Group Work Abilities on The Geography of Europe and Africa of Mathayomsuksa 2 Students Using Inquiry Based Learning and Graphic Organizer Technique. Veridian E-Journal: Humanities, Social Sciences and Arts. 10(2), 1379-1398. (In Thai)