The Development Process of Test and Questionnaire Construction Skills for Kalasin University Students

Main Article Content

ศักดิ์สิทธิ์ ฤทธิลัน
ณัฏฐนันท์ สีดาแก้ว
สุริยาวุธ สุวรรณบุบผา
สุวรรณ เทียนยุธ
บุษบา แฝงสาเคน

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาทักษะ การสร้างแบบทดสอบและแบบสอบถาม 2) ศึกษาวิธีการในการพัฒนาทักษะ และ 3) เปรียบเทียบความรู้หลักการสร้างแบบทดสอบและแบบสอบถามก่อนและหลังการพัฒนาทักษะกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาปีที่ 3 สาขาคณิตศาสตร์ปีการศึกษา 2557 จำนวน 102 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบทดสอบก่อนและหลังการพัฒนาทักษะ ชุดฝึกทักษะการสร้างแบบทดสอบและแบบสอบถาม อย่างละ 5 ชุด เก็บข้อมูล 5 ครั้ง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ และการทดสอบที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาผ่านเกณฑ์การสร้างแบบทดสอบจากการเก็บข้อมูล 5 ครั้ง คือ 3.92%, 19.61%, 48.04%, 68.63% และ 88.24% ตามลำดับ นักศึกษาผ่านเกณฑ์การสร้างแบบสอบถามจากการเก็บข้อมูล 5 ครั้งคือ 56.86%, 69.61%, 81.37%, 95.10% และ 98.04% ตามลำดับ วิธีการพัฒนา ประกอบด้วย 11 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาการสร้างแบบทดสอบและแบบสอบถาม 2) ทำชุดฝึก 1 3) รับผลการตรวจและข้อเสนอแนะจากอาจารย์ 4) ทำชุดฝึก 2 5) รับผลการตรวจและข้อเสนอแนะจากอาจารย์ 6) ทำชุดฝึก 3 7) รับข้อเสนอแนะจากเพื่อนและอาจารย์ก่อนส่งตรวจให้คะแนน 8) ทำชุดฝึก 4 9) รับข้อเสนอแนะจากเพื่อนและอาจารย์ก่อนส่งตรวจให้คะแนน 10) ทำชุดฝึก 5 และ 11) รับข้อเสนอแนะจากเพื่อนและอาจารย์ก่อนส่งตรวจให้คะแนน ผลการเปรียบเทียบความรู้หลักการสร้างแบบทดสอบและแบบสอบถามก่อนและหลังการพัฒนาทักษะแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

 

This research aimed (1) to develop students’ test and questionnaire construction skills, (2) to study an effective way to develop students’ skills, and (3) to compare students’ learning achievement in test and questionnaire construction both before and after the development. The samples were 102 third-year students majoring in Mathematics during the academic year 2015 of Kalasin University. Purposively selected Instruments consisted of a pretest, a posttest, and five practice kits for developing test and questionnaire construction skills. The data were collected five times and were analyzed by using frequency, percentage, and t-test. Results indicated that the students passed the criterion for test construction from each of the five times of development with 3.92%, 19.61%, 48.04%, 68.63%, and 88.24 respectively. They also passed the criterion for questionnaire construction from each of the five times with 56.86%, 69.61%, 81.37, 95.10%, and 98.04% respectively. The effective method used in developing students’ test and questionnaire construction skills consisted of 11 steps, including (1) study how to construct test and questionnaire, (2) complete Practice Kit 1, (3) receive scores and suggestions from teachers, (4) complete Practice Kit 2, (5) receive scores and suggestions from teachers, (6) complete Practice Kit 3, (7) receive comments from peers and teachers before submitting the final edition, (8) complete Practice Kit 4, (9) receive comments from peers and teachers before submitting the final edition, (10) complete Practice Kit 5, and (11) receive comments from peers and teachers before submitting the final edition. In addition, students’ learning achievements in test and questionnaire construction before and after the developments were significantly different at the .01 level.

Article Details

Section
Articles (บทความ)