การพัฒนาความสามารถทางการฟัง-พูดภาษาอังกฤษ และความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการสอนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ตามแนวทฤษฎีธรรมชาติ

Main Article Content

พิมพ์ทิพย์ ดวงจิตร
เสาวลักษณ์ รัตนวิชช์

บทคัดย่อ

การพัฒนาความสามารถทางการฟัง-พูดภาษาอังกฤษและความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการสอนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนตามแนวทฤษฎีธรรมชาติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดอินทรวิหาร สังกัดสำนักงานเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 33 คน โดยทำการเลือกกลุ่มตัวอย่าง แบบเจาะจง ทำการทดลองโดยใช้แบบแผนการวิจัยกึ่งทดลองแบบอนุกรมเวลา (One-Group Time Series Design) ระยะเวลาในการทดลองรวมทั้งสิ้น 24 คาบเรียนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ และบทเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอนรายวิชาภาษาอังกฤษของกลุ่มตัวอย่างด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนตามแนวทฤษฎีธรรมชาติ 2) แบบทดสอบวัดความสามารถทางการฟัง-พูดภาษาอังกฤษ และ 3) แบบสอบถาม โดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ (ANOVA with repeated measure) ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่อทำการวิเคราะห์ความพึงพอใจที่มีต่อการสอนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนตามแนวทฤษฎีธรรมชาติ ผลการวิจัย พบว่า นักเรียน มีความสามารถทางการฟัง-พูดภาษาอังกฤษสูงกว่าก่อนการทดลองและทุกช่วงระยะการจัดการเรียนการสอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการสอนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนตามแนวทฤษฎีธรรมชาติอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
Articles (บทความ)

References

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2539). ครูกับการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2541).สาระสำคัญของผลการวิจัยเรื่องสัมฤทธิผลของหลักสูตรมัธยมศึกษา ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533 “วิสัยทัศน์การมัธยมศึกษาในอนาคต: สาระและมุมมอง.” กรุงเทพฯ: กรมวิชาการ.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช2551. กรุงเทพฯ: เจริญผลการพิมพ์.

กิรินทร์ สหเสวียนต์. (2546). กระบวนการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นโดยการทำวิจัยเชิงปฏิบัติการ: กรณีศึกษาครูชั้นประถมศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรการศึกษาเอกชน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่. กรุงเทพฯ.

นาราทิพย์ ส่งสุข. (2559). ผลของการสอนแบบมุ่งประสบการณ์ภาษารูปแบบที่ 1 ด้วยคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่มีต่อความสามารถในการอ่าน การเขียน และความสนใจในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 392-406.

ยุทธ ไกยวรรณ. (2550). หลักการทำวิจัยและการทาวิทยานิพนธ์. กรุงเทพฯ: ศูนยสื่อเสริมกรุงเทพ.

รัชนีย์ ดวงประทุม. (2548). การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ความคงทน ความพึงพอใจและทักษะชีวิต กลุ่มสาระเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์เรื่อง นา ฟ้า และดวงดาว ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์กับการเรียนแบบร่วมมือ (STAD). (วิทยานิพนธ์ กศ.ม. สาขาวิชา เทคโนโลยีการศึกษา). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2538). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ิริกัญญา ขวัญสำราญ. (2540). การพัฒนารูปแบบการสอนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่6โดยใช้กิจกรรมคัดสรรเพื่อการสื่อสาร. วิทยานิพนธ์ปริญญา ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตร และการสอน บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

เสาวลักษณ์ รัตนวิชช์. (2547). การสอนแบบมุ่งประสบการณ์ภาษา:กลยุทธ์สู่ความสำเร็จในการพัฒนาการรู้หนังสือเพื่อปวงชน. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโรตารี่แห่งประเทศไทย.

Erwin, Dary T. & Rieppi, Ricardo. (1999). Comparing Multimedia and Traditional Approach in Undergraduate Psychology Courses. Teaching of Psychology.

Johnson, D. W. et al. (1982). Circleof Learning Cooperationin Classroom. Washington: s.l.

Klassen, J. & Mition, P. (1999). Enhancing English language skills using multimedia:Tried and tested. Computer Assisted Language Learning.

Kraahen, Stephan D. & Terrell, Tracy D. (1983). The Natural Approach: Language. Acquisition in the classroom. Oxford: Pergam on Press. Language Teaching: A description and analysis. Cambridge University Press.